“ตัวแสบเล่นแล้วไม่เก็บ” แบบนี้ต้องจัดการ!

0

ของเล่น… น่าจะเป็นสิ่งของอย่างแรกๆ ที่เรียกได้ว่าเป็นทรัพย์สมบัติของเด็กๆ  โดยแท้จริง  ดังนั้นการฝึกให้ลูกดูแลรักษาทรัพย์สมบัติของตัวเองตั้งแต่รู้ความจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง เพราะจะทำลูกน้อยของเราเติบโตขึ้นมาเป็นผู้ใหญ่ที่มีระเบียบวินัยในตนเองค่ะ

วัยซน5.3

ทำอย่างไรให้ลูกเล่นแล้วเก็บ

ปลูกฝังให้ลูกรักของ: ถ้าเริ่มต้นจากรู้สึกรัก  หวงแหน  และเห็นคุณค่า  ความอยากดูแลรักษาก็จะตามมาค่ะ

บอกกติกาก่อนเล่น: ถ้าลูกรับฟัง เข้าใจในเงื่อนไข และรับปากก่อนจึงอนุญาตให้เล่น  เช่น  เล่นเสร็จแล้วลูกต้องเก็บของเล่นเข้าที่นะคะ  ถ้าลูกไม่เก็บคราวหน้าคุณแม่จะไม่ให้เล่นอีก  ตกลงไหมจ้ะ

ให้เล่นทีละอย่าง: คุณแม่อาจสร้างกติกาให้ลูกเก็บของที่เล่นเบื่อแล้วเข้าที่ก่อน จึงหยิบของเล่นชิ้นใหม่ วิธีนี้ลูกจะเรียนรู้การเล่นแล้วเก็บ  เล่นแล้วเก็บ  และช่วยไม่ให้มีของเล่นกระจัดกระจายเยอะเกินกว่าที่ลูกจะเก็บหมดเมื่อเลิกเล่น

บอกเหตุผลว่าทำไมต้องเก็บ: บอกให้ลูกเข้าใจว่า  ที่ลูกต้องเก็บของเล่นเพราะของเล่นจะได้ไม่หาย  ไม่พังเร็ว  เวลาเล่นก็หาง่าย  ที่สำคัญถ้าของเล่นวางเกลื่อนบ้านก็อาจจะทำให้เกิดอุบัติเหตุได้

ทำเป็นตัวอย่าง: เป็นการสอนที่ดีที่สุดค่ะ  ช่วงแรกๆ คุณพ่อคุณแม่อาจต้องช่วยลูกเก็บ  หรือชี้แนะลูกว่าอะไรอยู่ตรงไหน  หรือแม้แต่ข้าวของเครื่องใช้ของคุณพ่อคุณแม่เองก็ต้องเก็บให้เป็นที่เป็นทางให้ลูกเห็นตัวอย่างที่ดีด้วยนะคะ

ทำอย่างสม่ำเสมอ: อย่าทำบ้างปล่อยบ้าง  ลูกจะเสียวินัย   ไม่ทำจนติดเป็นนิสัย

ชื่นชมและให้กำลังใจเสมอเมื่อลูกพยายามและตั้งใจ

And who will clean up this mess?

ทำอย่างไรเมื่อลูกไม่ยอมเก็บ

ช่วยกันเก็บเช่น ลูกเก็บ 2 ชิ้นนั้นนะ  เดี๋ยวคุณแม่จะช่วยเก็บอันนี้

หาสิ่งดึงดูดใจ:

  • เล่นเกมแข่งกันเก็บของเล่น
  • แต่งนิทานสั้นๆ  เช่น  พากระต่าย (ตุ๊กตากระต่าย) กลับบ้าน  ขับรถเที่ยว (รถของเล่น)
  • ทำเสียงแทนตัวของเล่น เช่น พี่หมีเล่นเหนื่อยแล้ว ใครจะพี่หมีไปนอนได้บ้างนะ
  • แต่งเพลง/ ร้องเพลง  เกี่ยวกับของเล่นที่จะเก็บทีละอย่างๆ
  • หากล่อง ชั้น  หรือตู้ใส่ของที่เป็นรูปสัตว์ต่างๆ  สีสันสดใส  น่าสนใจ  จดจำง่าย

หาสิ่งล่อใจ: เช่น  เดี๋ยวเก็บเสร็จเราจะไปขี่จักรยานกัน  หรือ ไปกินไอศกรีมกัน  เป็นต้น

 Look what is this

บางครั้งลูกอาจเกเรหรือไม่อยู่ในอารมณ์ปกติบ้าง เช่น หิว  ง่วง นอน  คุณพ่อคุณแม่อาจผ่อนปรนได้บ้างเมื่อลูกอารมณ์ดีขึ้นค่อยปะเหลาะลูกใหม่  หรือฝึกใหม่ในครั้งต่อไป  ไม่ควรบังคับ  กดดันจนเกิน  นะคะ  ลูกจะเกิดทัศนคติเชิงลบกับกิจกรรมนี้ทันที และจะไม่เต็มใจทำด้วยตัวเองในครั้งต่อไปๆ ค่ะ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *