4 สัญญาณบอกว่า “ไม่มีความสุข” ในการทำงาน

0

ในแต่ละครอบครัว มักมีสมาชิกหลายช่วงวัย โดยมีสมาชิกวัยทำงาน เป็นกำลังสำคัญของครอบครัว เพราะโดยมากจะรับภาระค่าใช้จ่ายต่างๆ ในบ้าน ฉะนั้น หากไม่มีความสุขในการทำงาน ก็อาจส่งผลทำให้ชีวิตด้านอื่นๆ ไม่มีความสุขตามไปด้วย รวมถึงอาจส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ของคนในครอบครัวได้ค่ะ

คนเราใช้เวลาอยู่ในที่ทำงานวันละ 7-8 ชั่วโมง หรือใช้เวลาประมาณครึ่งหนึ่งที่เราตื่น หากเราไม่มีความสุขในการทำงาน ก็เท่ากับชีวิตครึ่งหนึ่งของเราไม่มีความสุข และอาจจะส่งผลทำให้ชีวิตด้านอื่นๆ ไม่มีความสุขตามไปด้วย ในทางตรงกันข้าม หากชีวิตการทำงานมีความสุข จะยิ่งเกิดกำลังใจ มีแรงจูงใจในการทำงาน

ข้อสังเกต แบบนี้แหละ… คนไม่มีความสุขในการทำงาน

four-signs-say-no-happiness-to-work-2

น.ต.นพ.บุญเรือง ไตรเรืองวรวัฒน์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต ได้ตั้งข้อสังเกตว่า ผู้ที่ไม่มีความสุขในการทำงาน คือ มีพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปจากเดิม ดังนี้

  1. เบื่อ ไม่อยากทำงาน ขาดความกระตือรือร้น ทำงานผิดพลาดบ่อย หรือขาดงานเป็นประจำ
  2. ไม่อยากพูดกับใคร โกรธง่ายน้อยใจง่าย ไม่รู้สึกสนุกสนานเหมือนเดิม
  3. สูบบุหรี่จัดขึ้น หรือดื่มเหล้าจัดขึ้น จนบางครั้งขาดงาน หรือหาทางออกด้วยการเล่นการพนัน
  4. เจ็บป่วยบ่อยๆ โดยไม่มีสาเหตุ เช่น ปวดหัวเป็นประจำ ปวดหลัง ปวดไหล่ อ่อนเพลีย นอนไม่หลับ อยากนอนตลอดเวลา

สร้างความสุขในการทำงาน ลองดูก่อน

four-signs-say-no-happiness-to-work-1

  1. เตรียมตัวให้พร้อมก่อนไปทำงานแต่ละวัน เช่น นอนให้พอ ทานมื้อเช้าให้อิ่ม และบอกตัวเองทุกครั้งว่า “ฉันพร้อมแล้วที่จะทำงาน”
  2. ผูกมิตรกับเพื่อนร่วมงานด้วยการใจกว้าง รับฟัง รู้จักพูดให้เป็น เช่น พูดชื่นชมเมื่อเพื่อนทำดี ขอโทษเมื่อทำผิด รับฟังและให้กำลังใจเมื่อเพื่อนร่วมงานเกิดความท้อแท้ และยอมรับความคิดต่าง
  3. เปิดใจรับฟังเมื่อหัวหน้าให้คำแนะนำหรือตักเตือน และชี้แจงด้วยเหตุผลมากกว่าการใช้อารมณ์
  4. พัฒนาตนเองให้ประสบความสำเร็จในการทำงาน โดยหมั่นฝึกฝนหาความรู้เพิ่มเติมในงานที่ทำ รวมทั้งถ้าได้รับมอบหมายงานใหม่ๆให้คิดว่าเป็นโอกาสในการพัฒนาตนเอง ซึ่งจะทำให้เราเกิดความภาคภูมิใจและมีความสุขกับการทำงาน
  5. หาที่ปรึกษาที่ไว้ใจได้เมื่อมีปัญหา เช่น เพื่อนสนิท หัวหน้างาน เพื่อช่วยกันคิดแก้ปัญหา

หากพบว่าตัวเองหรือสมาชิกในครอบครัวมีอาการที่บอกว่าไม่มีความสุขในการทำงาน ควรไปปรึกษาแพทย์ หรือโทร.ปรึกษาสายด่วนสุขภาพจิต 1323 เพื่อหาทางแก้ไขที่เหมาะสมนะคะ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *