พ่อแม่ต้องรู้! “ยาเสียสาว” ผสมเครื่องดื่มทำยาเสพติดได้

0

เป็นอีกประเด็นร้อนที่พ่อแม่ต้องใส่ใจค่ะ กับข่าวการส่งต่อข้อความผ่านทางโซเชียลมีเดีย มีใจความว่า ให้ผู้ปกครองตรวจสอบกระเป๋านักเรียนของบุตรหลาน เนื่องจากขณะนี้มีสิ่งเสพติดที่กำลังระบาดในหมู่วัยรุ่น ที่นำมาผสมเครื่องดื่ม ออกฤทธิ์มึนเมาไม่มีกลิ่น มีอันตรายต่อตับและไต มีทั้งเม็ดสีน้ำเงิน และสีแดง

ข้อมูลจาก ภก.ประพนธ์ อางตระกูล รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) และโฆษก อย. ระบุว่า…

ยาดังกล่าว คือ ยาอัลปราโซแลม (มีชื่อทางการค้าหลายชื่อ เช่น ซาแน็กซ์โซแลม) และ มิดาโซแลม เป็นวัตถุออกฤทธิ์ประเภท 2 โดยปกติร้ายขายยาทั่วไปไม่สามารถมีไว้ในครอบครองหรือจำหน่ายได้

เพราะโดยหลักแล้ววัตถุออกฤทธิ์ประเภท 2 ผู้ที่จะสามารถสั่งใช้ได้จะมีเฉพาะแพทย์เท่านั้น และมักใช้ในกลุ่มคนที่มีปัญหาเรื่องการนอนไม่หลับต้องปรับสภาพการนอน หรือใช้ร่วมกับการผ่าตัด ใช้สำหรับคลายอาการวิตกกังวล หากรับประทานไปแล้วจะออกฤทธิ์เร็วภายใน 15 นาที ผู้ที่รับประทานจะมีอาการสะลึมสะลือง่วงนอน ส่งผลให้มีการนำไปใช้ในทางที่ผิด

%e0%b8%a2%e0%b8%b2%e0%b9%80%e0%b8%aa%e0%b8%b5%e0%b8%a2%e0%b8%aa%e0%b8%b2%e0%b8%a7

ยากลุ่มนี้มีฤทธิ์ต่อจิตและประสาท จึงจัดเป็นวัตถุออกฤทธิ์ประเภท 2 หรือจะรู้จักกันในชื่อกลุ่มยาเสียสาว แต่ในประเทศไทยไม่ต้องกังวล เนื่องจากผู้ที่จะจำหน่ายหรือสถานที่ที่จะมีไว้ใช้ ต้องมีใบอนุญาต ขอครอบครองวัตถุออกฤทธิ์ประเภท 2 เท่านั้น และต้องขออนุญาตจากกระทรวงสาธารณสุขด้วย เพราะบางครั้งอาจมีผู้ไม่หวังดีนำไปใช้เพื่อทำให้เหยื่อควบคุมสติไม่ได้ หรือนำไปใช้ก่อเหตุอันไม่พึงประสงค์ได้

จากการตรวจสอบยาทั้ง 2 ชนิด พบว่า น่าจะเป็นการลักลอบนำเข้ายา เนื่องจากไม่มีฉลากและเอกสารกำกับยาเป็นภาษาไทย ดังนั้น พ่อแม่ผู้ปกครองควรเฝ้าระวังบุตรหลานให้ดีเพื่อป้องกันไม่ให้เจ้าตัวแสบแอบไปลักลอบซื้อผ่านทางโซเชียลมีเดีย และ อินเทอร์เน็ต ทั้งนี้ ผู้ที่มีไว้ครอบครองจะมีโทษจำคุก 1 – 5 ปี และปรับ 20,000 – 100,000 บาท

ในส่วนของ ยาอัลปราโซแลมนั้น เป็นสารประกอบที่ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ไม่สามารถสังเกตได้ด้วยตาเปล่า หากนำไปผสมในเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ จะทำให้ผู้ที่ดื่มมีอาการง่วงซึม มึนงง สูญเสียการทรงตัวและสูญเสียความทรงจำ ดังนั้นพ่อแม่ควรสอนให้ลูกหลานระมัดระวังในการดื่มเครื่องดื่มจากคนแปลกหน้า

ภัยใกล้ตัวอย่างนี้ พ่อแม่อย่าได้นิ่งนอนใจนะคะ หมั่นคอยสอดส่องดูแลลูกหลานและคนในครอบครัวเพื่อป้องกันไม่ให้พวกเขาเข้าใกล้สู่วังวนยาเสพติดที่มีแต่จะให้โทษค่ะ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *