Over feeding อันตรายจากฝีมือแม่

0

คุณแม่มือใหม่หลายต่อหลายมักจะแก้ปัญหากับพฤติกรรมลูกวัยเบบี๋ที่ร้องไห้งอแงด้วยการให้นม   เพราะทนฟังเสียงร้องไม่ไหว แก้ไขให้ลูกหยุดร้องไม่ได้   เมื่อลูกกินนมเข้าไปปริมาณมากก็อึดอัดท้อง  ไม่สบายตัว แล้วก็ร้องไห้งอแง   ถ้าร้องไห้หนักอาจทำให้ แหวะออกมา  พฤติกรรมดังกล่าวเรียกว่า Over feeding คือการให้อาหารเกินกว่าความต้องการนั่นเองค่ะ

over-feeding

สังเกตอย่างไรเมื่อลูกถูก Over feeding

  1. บิดตัว เอี้ยวตัวเหยียดแขนเหยียดขา ส่งเสียงเอี๊ยดอ๊าด
  2. มีเสียงครืดคราดในคอ คล้ายมีเสมหะในคอ เสียงดังกล่าวเกิดจากนมที่ดื่มเข้าไปล้นขึ้นมาที่คอหอยแล้ว ทำให้ลูกมีท่าทางคล้ายจะอาเจียน แต่ไม่อาเจียนออกมา
  3. ท้องโป่งตึง  ตลอดเวลา ท้องไม่ยุบ
  4. ร้องกวน ร้องบ่อย ไม่สุขสบาย
  5. สำรอกนม ทางปาก และจมูก

ป้องกัน Over feeding อย่างไร

  1. ให้ลูกกินจนอิ่ม ในปริมาณที่เหมาะสมตามน้ำหนักตัว
  2. หากลูกร้องขอเพิ่มอีก  ให้เบี่ยงเบนความสนใจลูก เล่นกับลูก อุ้มเดิน ดูดจุกหลอก
  3. หากลูกร้องมาก ต้องพยายามปลอบให้ลูกหยุดร้อง เพราะหากลูกร้องไห้หนักขึ้น อากาศจะเข้าไปในกระเพาะอาหารทำให้ลูกท้องอืดมากขึ้น แน่นอึดอัดมากขึ้น ทรมานมากขึ้น
  4. เด็กที่แหวะนมหรืออาเจียน แนะนำให้คุณแม่อุ้มสักระยะ 30 นาทีอย่าให้นอนราบในทันทีเพราะการอาเจียนบ่อยทำให้กรดจากกระเพาะอาหารย้อนออกมาทำให้หลอดอาหารเป็นแผลได้
  5. ให้นมเป็นเวลา อย่าให้ทุกครั้งเมื่อลูกร้องไห้

แน่นอนว่าการกินนมเป็นความสุขความอบอุ่นของลูก ทุกครั้งที่ได้กินนมลูกจึงหยุดร้องไห้  แต่เด็กในวัยนี้ไม่สามารถประมาณความต้องการหรือความเหมาะสมของปริมาณนมที่ได้รับเองได้นะคะ

หากตอบสนองลูกด้วยการให้กิน ลูกก็จดจำโดยอัตโนมัติ ร้องแล้วได้กินทุกที บางครั้งไม่ได้หิว แต่การดูดจุกหรือดูดหัวนมแม่ทำให้ลูกผ่อนคลาย ลูกจึงเรียกร้องขอดูดตลอดเวลา ทำให้ลูกมีพฤติกรรมกินจุ โดยเฉพาะ สุดท้ายนำไปสู่โรคอ้วนในอนาคตได้ค่ะ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *