“เด็กผ่าคลอด” ต้องดูแลเป็นพิเศษ จริงหรือ?

0

ทารกน้อยที่ออกมาดูโลกด้วยวิธีผ่าคลอด เป็นกลุ่มเบบี๋ที่ต้องได้รับการเป็นพิเศษ เนื่องจากการผ่าคลอดแทนวิธีธรรมชาตินั้นทำให้ทารกพลาดโอกาสได้รับภูมิต้านทานตั้งต้นตามธรรมชาติได้ จึงสุ่มเสี่ยงต่อการติดเชื้อหรือเจ็บป่วย

ฟังอย่างนี้แล้วคุณแม่อย่าเพิ่งกังวลไปไกลนะคะ เรามีเคล็ดลับดูแลเด็กผ่าคลอดมาฝาก!!

Small delicate little hand of newborn - close portrait

ข้อมูลจากการวิจัยหลายๆ ชิ้นแสดงผลไปในทิศทางเดียวกันว่า เด็กผ่าคลอดจะมีภาวะภูมิต้านทานที่ล่าช้ากว่าเด็กที่คลอดปกติตามธรรมชาติ เพราะเด็กไม่มีโอกาสได้รับจุลินทรีย์สุขภาพทางช่องคลอดของแม่ ซึ่งจุลินทรีย์นี้ต่อมาจะพัฒนาไปเป็นระบบภูมิต้านทานตั้งต้นที่จะอยู่กับลูกสุดที่รักของเรา 6 ปีเป็นอย่างน้อย

ในขณะที่เด็กผ่าคลอดอาจพลาดโอกาสที่จะได้รับจุลินทรีย์ดังกล่าว การกระตุ้นภูมิต้านของทารกอาจทำได้ไม่ดี และเสี่ยงต่อการสร้างระบบภูมิต้านทานตั้งต้นที่ช้ากว่า ก่อให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพ อาทิ ภาวะภูมิแพ้ เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง สมองเเละสติปัญญาอาจมีพัฒนาการด้อยกว่าที่ควรเป็น อย่าคิดว่าไม่สำคัญนะคะ เพราะภูมิต้านทานในวัยทารก สามารถส่งผลกระทบต่อเนื่องไปจนถึงวัยผู้ใหญ่ได้ค่ะ

หากคุณแม่จำเป็นต้องใช้วิธีผ่าคลอด และอยากให้ลูกน้อยแข็งแรงจึงควรดูแลสุขภาพตัวเองแต่เนิ่นๆ นะคะ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องโภชนาการ ความแข็งแรงสมบูรณ์ของร่างกาย อย่าปล่อยให้เจ็บป่วย

ในส่วนของน้ำหนักก็ต้องระมัดระวังอย่างให้น้ำหนักต่ำหรือเกินกว่าเกณฑ์มาตรฐาน นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ หากมีอาการผิดปกติต่างๆ เช่น ปวดหัว ตามัว คลื่นไส้อาเจียน เวียนหัว ตัวบวม เห็นภาพซ้อน เลือดออกทางช่องคลอด หรือทารกในครรภ์ดิ้นน้อย ควรรีบไปพบแพทย์ หรือหากมีคำถามหรือข้อข้องใจก็ควรปรึกษาแพทย์

เมื่อคลอดทารกน้อยออกมาแล้ว คุณแม่ควรใส่ใจเรื่องโภชนาการเป็นพิเศษ ที่สำคัญมากๆ คือ การให้นมลูกดื่มนมแม่อย่างน้อย 6 เดือน เพราะน้ำนมแม่อุดมด้วยสารอาหารที่เป็นประโยชน์ รวมถึงจุลินทรีย์สุขภาพ (โพรไบโอติก) ที่ช่วยปกป้องลูกน้อยจากการติดเชื้อหรือเจ็บป่วย พร้อมด้วย อาหารของจุลินทรีย์สุขภาพ ที่จะช่วยให้จุลินทรีย์สุขภาพที่ดีขยายจำนวนเพิ่มขึ้นๆ ช่วยให้เด็กวัยแรกเกิดเติบโตได้ดี และทำให้มีภูมิต้านทานที่แข็งแรงกลับคืนมาค่ะ

ทั้งนี้หากคุณแม่ต้องการปั๊มน้ำนมเก็บไว้ให้ลูกดื่ม ควรเก็บนมไว้ในตู้เย็นที่ควบคุมอุณหภูมิ แต่ไม่ควรลดต่ำจนถึงจุดเยือกเเข็ง เพราะอาจมีผลเสียในเรื่องของปริมาณกับคุณภาพ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *