ข่าวดี! ศูนย์สาธารณสุข กทม. หยอดวัคซีนไวรัสโรต้าให้เด็กฟรี

0

เพราะการป้องกันย่อมดีกว่าการรักษา ฉะนั้น อะไรที่สามารถปกป้องเบบี๋จากความเสี่ยงของโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ได้ พ่อแม่ผู้ปกครองก็ไม่ควรมองข้ามนะคะ ในส่วนของโรคยอดฮิตของเด็กๆ อย่างโรคอุจจาระร่วงก็เช่นกันค่ะ พ่อแม่มือใหม่หลายคนอาจไม่ทราบว่าโรคนี้สามารถป้องกันได้ด้วยการหยอดวัคซีนไวรัสโรต้า!

%e0%b8%a7%e0%b8%b1%e0%b8%84%e0%b8%8b%e0%b8%b5%e0%b8%99%e0%b9%84%e0%b8%a7%e0%b8%a3%e0%b8%b1%e0%b8%aa%e0%b9%82%e0%b8%a3%e0%b8%95%e0%b9%89%e0%b8%b2-%e0%b8%9f%e0%b8%a3%e0%b8%b5

“ไวรัสโรต้า” (Rotavirus) คืออะไร

เป็นเชื้อไวรัสชนิดหนึ่ง ที่ทำให้เกิดโรคท้องร่วงในเด็กเล็ก โดยมักจะเกิดกับเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 5 ปี เชื้อไวรัสโรต้ามีความทนทาน สามารถอยู่ได้ทุกที่ แพร่กระจายได้เร็ว มีชีวิตหลายวัน อีกทั้งยังเป็นเชื้อที่ติดได้ง่าย เนื่องจากเด็กเล็กมักอยากลองสัมผัสสิ่งรอบตัว ด้วยการเอาสิ่งของต่างๆ เข้าปาก หรือดูดนิ้วอมมือตัวเอง เมื่อเด็กสัมผัสเชื้อที่ติดมากับของเล่นที่เปื้อนน้ำมูก น้ำลาย หรืออุจจาระที่ปนเปื้อนเชื้อ และเอามือเข้าปาก เชื้อโรคก็จะเข้าสู่ร่างกายโดยตรง

การติดเชื้อไวรัสโรต้า เป็นอย่างไร

เกิดขึ้นได้หลายครั้ง แต่การติดเชื้อครั้งแรกจะทำให้มีอาการรุนแรงที่สุด และอาการจะรุนแรงลดลงในการติดเชื้อครั้งถัดๆ ไป เนื่องจากร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันมากขึ้น โดยสัญญาณเตือนจากไวรัสโรต้าที่ผู้ปกครองควรพาเบบี๋มาพบแพทย์ ได้แก่ มีอาการซึม ไม่มีแรง มือเท้าเย็น อาเจียนหรือถ่ายมากผิดปกติ ปัสสาวะผิดปกติ (เช่น ปัสสาวะสีเข้า, ไม่ปัสสาวะเลยเกิน 6 ชั่วโมง) มีอาการโหล ร้องไห้ไม่มีน้ำตา หรือเด็กเล็กๆ อาจมีกระหม่อมบุ๋ม

วิธีการป้องกันเด็กจากเชื้อไวรัสโรต้า

ที่สำคัญคือ การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ การสร้างสุขอนามัยที่ดี การรักษาความสะอาด การล้างมือ เป็นต้น อย่างไรก็ตามวิธีการเหล่านี้ไม่สามารถป้องกันได้อย่างครบถ้วน การรับวัคซีนป้องกันไวรัสโรต้าจึงเป็นการป้องกันที่มีประสิทธิภาพสูงสุด

ผู้ปกครองสามารถนำบุตรหลานชาวไทยอายุ 2 เดือน แต่ไม่เกิน 4 เดือน ที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร มารับบริการหยอดวัคซีนไวรัสโรต้า (เป็นการหยอดวัคซีน  2cc เข้าปาก) ได้ที่ศูนย์บริการสาธารณสุข ทั้ง 68 แห่ง โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่กองควบคุมโรคติดต่อ สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร โทร 0 2203 2887 – 9 ในวันและเวลาราชการ

ทั้งนี้ เพื่อการรับบริการอย่างราบรื่นแนะนำให้ผู้ปกครองสอบถามข้อมูลกับทางกองควบคุมโรคติดต่อ สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร โทร 0 2203 2887 – 9 ก่อนพาเบบี๋ไปรับวัคซีนนะคะ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *