Category Archives: สารพัดโรค

ไม่ใช่คนแก่ แนวโน้ม “พาร์กินสัน” ในวัยทำงานก็สูงเหมือนกัน!

หลายคนคงเคยได้ยินชื่อ “โรคพาร์กินสัน” ผ่านหูกันมาบ้าง แต่ก็คงผ่านแล้วผ่านเลยเพราะเข้าใจว่าเป็นโรคของผู้สูงอายุขอบอกว่าคุณคิดผิดแม้ว่าตลอดหลายปีที่ผ่านมาพบว่าผู้ป่วยโรคพาร์กินสันส่วนใหญ่มีอายุเกิน 60 ปีขึ้นไป แต่ในปัจจุบันพบว่าผู้ป่วยร้อยละ 8 ถูกตรวจพบว่าเป็นโรคพาร์กินสันก่อนอายุ 40 ปีอีกด้วย ดังนั้นกลุ่มวัยทำงานจึงถือเป็นอีกกลุ่มที่มีความเสี่ยง

ดูแล “ภาวะกระดูกพรุน” โดยไม่ต้องใช้ยา

วิวัฒนาการทางการแพทย์ปัจจุบันส่งผลให้ประชาชนมีอายุยืนยาวขึ้น ซึ่งกลุ่มผู้สูงอายุนี้มักประสบปัญหาด้านความเสื่อมถอยของร่างกาย โดยเฉพาะกระดูกที่เป็นโครงสร้างยึดเกาะกล้ามเนื้อ ช่วยให้ร่างกายคงรูปร่างได้ตามปกติ ซึ่งหากเนื้อกระดูกมีความหนาแน่นลดลงจากการสูญเสียมวลกระดูก จะส่งผลให้เกิด “ภาวะกระดูกพรุน” ได้

บุหรี่กับพิษ 4,000 ชนิด ข้อพิสูจน์ที่ชัดเจน!

เป็นภัยใกล้ตัวที่หลายคนมองข้าม สำหรับการสูบบุหรี่ หลายคนสูบเพราะคิดว่าช่วยแก้เครียดได้ ทั้งที่ก็ไม่มีข้อพิสูจน์ได้ว่าเจ้านิโคตินอัดแท่งนี้ช่วยผ่อนคลายความเครียดได้จริงหรือไม่ แต่ข้อเท็จจริงที่พิสูจน์ได้อย่างแน่นอนคือ ในบุหรี่มีสารเคมีเป็นพิษมากกว่า 4,000 ชนิด ซึ่งทำให้ผู้สูบไปจนถึงผู้ได้รับควันบุหรี่เสี่ยงเป็นโรคมะเร็งหลายชนิด

ใครว่าโรคคนแก่… วัยทำงานก็เสี่ยง “ข้อเข่าเสื่อม” ไม่แพ้กัน!

เมื่อพูดถึง “โรคข้อเสื่อม” เชื่อว่าเหล่าหนุ่มสาวและคนวัยทำงานคงไม่ได้ให้ความสำคัญมากนัก เพราะคุ้นเคยกันดีว่าเป็นโรคของผู้สูงวัยที่มักอยู่ในกลุ่มเสี่ยงอันเนื่องมาจากความเสื่อมถอยของร่างกายแต่รู้หรือไม่ว่าอีกหนึ่งกลุ่มที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคนี้ไม่แพ้กันก็คือ วัยทำงาน โดยเฉพาะกลุ่มที่ออกแรงใช้เข่ามาก

“เนื้องอกในสมอง” โรคในละครที่พบได้บ่อยในชีวิตจริง เป็นได้โดยไร้สาเหตุ!

“โรคเนื้องอกสมอง” เป็นโรคทางระบบประสาทที่พบบ่อย คือประมาณร้อยละ75 ของเนื้องอกในระบบประสาททั้งหมด ส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นเองโดยไม่ทราบสาเหตุแน่ชัดและเกิดได้กับทุกเพศทุกวัย เป็นอีกหนึ่งมัจจุราชเงียบที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพเพราะหากไม่ได้รับการรักษาพยาบาลทันท่วงทีจะทำให้ผู้ป่วยทุพพลภาพหรือถึงขั้นเสียชีวิตได้

“หลอดเลือดสมอง” คร่าชีวิตคนไทยชั่วโมงละ 3 คน ไม่ระวังคนต่อไปอาจเป็นคุณ!

เป็นอีกหนึ่งโรคร้ายที่ไม่ควรมองข้ามด้วยประการทั้งปวงสำหรับ “โรคหลอดเลือดสมอง” ด้วยเพราะเป็นปัญหาสาธารณสุขที่คร่าชีวิตคนไทยชั่วโมงละ 3 คน และมีแนวโน้มผู้ป่วยเพิ่มสูงขึ้นทุกปี จากข้อมูลสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขพบผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในบ้านเรากว่า500,000 คน

กินอยู่ยังไงให้ไกล “มะเร็งลำไส้ใหญ่”

เป็นอีกหนึ่งโรคในตระกูลมะเร็งที่คนไทยป่วยเป็นอันดับต้นๆ สำหรับ “มะเร็งลำไส้ใหญ่” โดยโรคนี้พบได้ทั้งชายและหญิงในอัตราที่ใกล้เคียงกัน โดยเฉพาะวัยกลางคนที่มีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป เชื่อว่า เกิดจากหลายปัจจัยรวมกัน ทั้งด้านสิ่งแวดล้อมที่มีมลพิษ ด้านพฤติกรรมการทานอาหาร และด้านพันธุกรรม

5 โรคติดเชื้อทางเดินหายใจที่ต้องระวังช่วงฤดูฝน

เมื่ออากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย ทั้งร้อนจัด ฝนตก ก็ทำให้คนป่วยด้วยโรคระบบทางเดินหายใจได้ง่าย โดยเฉพาะโรคหวัด ไข้หวัดใหญ่ ซึ่งเกิดจากเชื้อไวรัสและแบคทีเรียในอากาศ แถมยังติดต่อกันได้ง่ายเพียงแค่การไอ จาม หรือมือที่เปื้อนน้ำมูก น้ำลาย เสมหะแล้วอย่างนี้เราจะป้องกันตัวอย่างไรให้ห่างไกลจากโรคเหล่านี้ได้ล่ะ

6 โรคติดต่อทางน้ำและอาหารยอดฮิตช่วงฤดูฝนและวิธีป้องกัน

กลุ่มโรคติดต่อทางน้ำและอาหารที่พบบ่อยในช่วงฤดูฝน ได้แก่ โรคท้องเดิน โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน บิด ไทฟอยด์ อาหารเป็นพิษ ตับอักเสบ ซึ่งสาเหตุเกิดจากรับประทานอาหาร หรือดื่มน้ำที่มีเชื้อโรคปนเปื้อน การรับประทานอาหารสุกๆ ดิบๆ หรือใช้น้ำที่ไม่สะอาดมาประกอบอาหาร รวมถึงการรับประทานอาหารที่ปรุงไว้นานข้ามมื้อ หรือเกิน 6 ชั่วโมง ที่อาจจะบูดเสียได้ง่ายๆ

พบคนไทยเป็น “ภูมิแพ้” มากขึ้น 4 เท่าหลังผ่านไปแค่ 10 ปี!

จากสถิติของสมาคมโรคภูมิแพ้และอิมมูโนวิทยาแห่งประเทศไทย พบว่าปัจจุบันมีผู้ป่วยโรคภูมิแพ้มากขึ้นถึง 3-4 เท่าเมื่อเทียบกับ 10ปีที่ผ่านมาสาเหตุหลักคือ กรรมพันธุ์ และปัจจัยกระตุ้น ทั้งมลภาวะ การสูบบุหรี่ ขาดการออกกำลังกาย สิ่งสำคัญที่หลายคนมองข้ามคือ ความสะอาดของเครื่องใช้ในบ้าน ประเภทพรมและเครื่องปรับอากาศ เพราะเป็นแหล่งสะสมฝุ่นที่เราสูดดมทุกวัน