เบบี๋หนูกำลังทำอะไร… ในท้องแม่นะ?

0

แม่นุ่มเชื่อว่านอกจากความใฝ่ฝันสูงสุดของคุณแม่ตั้งครรภ์ที่อยากได้เห็นหน้าลูกเมื่อคลอดออกมาแล้ว  ระหว่าง 36 – 40 สัปดาห์ที่คุณแม่ต้องรอคอย  คุณแม่ทุกคนคงอยากรู้แน่ๆ ว่า หนูน้อยกำลังทำอะไรระหว่างที่กินๆ นอนๆ อยู่ในพุงกลมๆ ของคุณแม่กันนะ  จะได้ยินเสียงคุณแม่ตอนพูดคุยกับหนูรึเปล่า  จะเห็นแสงไฟจากภายนอกรึยัง  ลูกกำลังดูดนิ้วมืออยู่ไหมน้อ?? ฯลฯ    เรามาดูกันค่ะว่าในแต่ละเดือนลูกสามารถทำอะไรได้แล้วบ้าง

ปัจจุบันเทคโนโลยีสมัยใหม่อย่างการอัลตราซาวน์ (Ultrasound) ทำให้เราสามารถได้รู้ว่า ในแต่ละช่วงอายุครรภ์ หนูน้อยมีพัฒนาการไปอย่างไรบ้างเมื่ออยู๋ในครรภ์

what the baby doing in the pregnent

  • อายุครรภ์ 7-8 สัปดาห์  ลูกน้อยเริ่มหมุนตัวไปมา เช่น งอตัวไปด้านข้าง และมีอาการผวา ซึ่งเป็นปฏิกิริยาตามธรรมชาติ ไม่ได้เป็นเพราะลูกน้อยหวาดกลัวหรือตกใจแต่อย่างใด
  • อายุครรภ์ประมาณ 9 สัปดาห์ เจ้าตัวน้อยจะเริ่มสะอึก และเริ่มขยับแขนขาน้อยๆ รวมทั้งยังเริ่มที่จะดูดนิ้วและฝึกหัดการกลืนอีกด้วย
  • อายุครรภ์ประมาณ10 สัปดาห์ ลูกน้อยสามารถขยับศีรษะ ยกมือขึ้นมาสัมผัสใบหน้าตนเอง อ้าขากรรไกร รวมทั้งยังยืดเหยียดลำตัวได้
  • อายุครรภ์ประมาณ12 สัปดาห์ ในช่วงนี้หนูน้อยไม่เพียงยืดเหยียดลำตัวบิดขี้เกียจ   แต่ยังสามารถหาวไปพร้อมๆ กันได้ด้วยค่ะ
  • อายุครรภ์ประมาณ14 สัปดาห์ลูกน้อยสามารถขยับลูกตาได้แล้วนะคะ
  • อายุครรภ์ประมาณ15 สัปดาห์ เจ้าตัวน้อยสามารถเลือกดูดนิ้วมือข้างที่เขาพอใจได้ และหากคุณพ่อคุณแม่บังเอิญเห็นหนูน้อยกำลังดูดนิ้วมือขณะอัลตร้าซาวน์พอดี คุณก็อาจพอจะเดาได้ว่าลูกรักจะเติบโตไปเป็นเด็กถนัดซ้ายหรือถนัดขวาค่ะ
  • หลังจาก 15 สัปดาห์เป็นต้นไป การเคลื่อนไหวของเจ้าตัวน้อยจะแรงขึ้นจนคุณแม่สัมผัสได้ ในช่วงแรกๆ อาจรู้สึกเหมือนมีปลาตัวน้อยตอดอยู่ในท้อง พอเข้าสู่ช่วงท้ายของไตรมาสที่สอง คุณจะเริ่มรู้สึกถึงการเคลื่อนไหวร่างกายของลูก เตะ ต่อย พลิกตัว หรือกระทั่งสะอึก และยิ่งอายุครรภ์มากขึ้นเท่าไร เจ้าตัวน้อยก็จะใช้เวลาไปกับการนอนหลับพักผ่อนมากขึ้น ประมาณครั้งละ 20 นาที หรือหนูน้อยบางรายอาจนอนหลับนานถึงครั้งละ 50 – 75 นาที เลยทีเดียวค่ะ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *