เมื่อลูกไม่ยอมกินข้าว จะจัดการยังไงดีล่ะ!!

0

ลูกไม่กินข้าว” เป็นปัญหาที่พบบ่อยมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็กวัย 1-7 ปี ซึ่งแต่ละเคสก็มีความรุนแรงและความยาวนานของปัญหาแตกต่างกันไปค่ะ ถ้ามาแบบเบาๆ เราเชื่อว่าคุณพ่อคุณแม่ส่วนใหญ่คงหาลูกลูกชนในการจัดการแก้ไขได้ไม่ยาก แต่ถ้าน้องงอแงแทบจะว้นเว้นวันเลยล่ะ จะทำยังไงดีคะ??

ก่อนจะเข้าสู่วิธีช่วยบรรเทาปัญหา “ลูกไม่กินข้าว” เราอยากให้คุณแม่คุณแม่มาทำความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับเรื่องการกินและน้ำหนักตัวของเจ้าตัวซนกันก่อนนะคะ

Offended little boy refuses to eat dinner

อันดับแรกต้องรู้ก่อนว่าช่วงวัยนั้นๆ ของลูก เขาควรกินอาหารปริมาณเท่าใดในแต่ละวัน ปริมาณอาหารที่พ่อแม่คาดหวังว่าลูกควรจะกินมักจะมากเกินความจริง อีกทั้งพ่อแม่จำนวนมากมีค่านิยมที่ผิด มองว่าเด็กจ้ำม่ำเป็นเด็กแข็งแรงและน่ารัก ทำให้มองเด็กที่น้ำหนักปกติว่าเป็นเด็กผอมเกินไปและพยายามยัดเยียดเรื่องกินกับลูกมากเกินไป ความจริงคือเป็นเรื่องปกติที่เด็กอาจกินน้อยเป็นบางมื้อหรือบางวัน เด็กคนเดียวกันความต้องการอาหารแต่ละวันไม่เหมือนกัน

หากสำรวจตัวเองแล้วพบว่า เข้าใจเกี่ยวกับเรื่องการกินและน้ำหนักตัวของเจ้าตัวซนได้ถูกต้อง และไม่ใช่การวิตกกังวลที่เกินกว่าเหตุแล้ว

เรามีเคล็ดลับที่ช่วยจัดการกับปัญหา “ลูกไม่กินข้าว” ดังนี้

  1. ไม่ใช้วิธีผิดๆ เพื่อให้เด็กกินมากขึ้น เช่น ตี ดุว่า บังคับ ใช้อารมณ์กับลูกหรือให้รางวัลเกินความจำเป็น
  2. ให้เด็กรู้สึกหิวก่อนถึงมื้ออาหารโดยงดอาหารหรือขนมจุกจิกระหว่างมื้อ ไม่ว่าจะเป็นขนมกรุบกรอบ น้ำหวาน ไอศกรีม ลูกอม ฯลฯ หากจะให้ ควรให้หลังอาหาร เมื่อลูกมีพฤติกรรมที่เหมาะสม เช่น เชื่อฟัง
  3. ฝึกให้กินอาหารเป็นเวลา ควรกินพร้อมกันทั้งครอบครัว เพื่อเป็นแบบอย่างและสร้างบรรยากาศการกินอาหารให้เด็ก ขณะมื้ออาหารควรพูดคุยกันเรื่องอาหาร หรือเรื่องเบาๆ ไม่ควรใช้เป็นเวลาที่จะมาต่อว่า
  4. ขณะมื้ออาหารไม่ดูทีวี หรือเล่นของเล่นไปด้วย เพราะจะทำให้เด็กไม่สนใจเรื่องกิน ทำให้กินช้า อมข้าวและอิ่มเร็วโดยที่ยังกินได้น้อย นอกจากนี้พ่อแม่ควรให้ลูกนั่งกินอาหารบนเก้าอี้จนเสร็จจึงจะให้ลง ไม่เดินตามป้อน หรือปล่อยให้ลูกเล่นของเล่น แล้วตัวเองคอยตามป้อนลูกไปเรื่อยๆ
  5. สังเกตชนิดและลักษณะอาหารที่เด็กชอบ ปรุงรสชาติให้ถูกปากเพราะเด็กสามารถแยกแยะรสชาติได้ตั้งแต่อายุไม่กี่สัปดาห์ แต่ต้องครบหมวดหมู่และรสไม่จัดจนเกินไปนะคะ
  6. เปิดโอกาสให้เด็กช่วยเหลือตัวเองในเรื่องการกินให้เหมาะสมตามวัย เช่น ในเด็กต่ำกว่า 3 ขวบ ให้เด็กมีโอกาสถือหรือหยิบอาหารเข้าปากด้วยตัวเองบ้าง แม้จะเลอะเทอะไปบ้างก็ต้องยอม ส่วนเด็กวัย 4  ขวบ ส่วนใหญ่สามารถตักอาหารเข้าปากได้ด้วยตัวเองโดยไม่ต้องป้อน  เพียงแต่ให้ความช่วยเหลือบางส่วน

ลองนำไปปรับใช้กันดูนะคะ 🙂

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *