เจ้าตัวซนจะสูงได้แค่ไหน ขึ้นอยู่กับอะไรบ้างนะ?

0

ค่านิยมของคนไทยเชื่อว่าเด็กตัวสูงมีโอกาสที่ดีกว่าเด็กตัวเตี้ย เช่น เล่นกีฬาได้ดีกว่า บุคลิกดูดีกว่า และเมื่อโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่มีโอกาสหางานทำได้ง่ายกว่า เมื่อพบว่าลูกมีส่วนสูงน้อยนิดเมื่อเทียบกับเพื่อนวัยเดียวกัน พ่อแม่ก็ย่อมกังวลเป็นธรรมดา คำถามที่หลายคนอยากรู้ คือ เจ้าตัวซนจะสูงได้แค่ไหน ขึ้นอยู่กับอะไร? แม่นุ่มมีข้อมูลจาก ศ.นพ.สุทธิพงศ์ วัชรสินธุ กุมารแพทย์ต่อมไร้ท่อ

8 ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อความสูงของเด็กวัยซน

what-is-the-height-of-the-child

  1. ยีนหรือพันธุกรรม ยีนที่ควบคุมเกี่ยวกับความสูงมีหลายยีน ดังนั้นพ่อแม่ที่สูง ร่วมกับปู่ย่าตายายสูงด้วยทั้งตระกูล ลูกก็มักจะตัวสูง ความผิดปกติของยีนบางตัวทำให้สูง เช่น การผ่าเหล่าของยีน การขาดเอนไซม์
  2. ฮอร์โมน ฮอร์โมนกระตุ้นความสูงในวัยเด็กคือฮอร์โมนเจริญเติบโตที่กระตุ้นกระดูก ทำให้มีการขยายตัวเป็นผลให้กระดูกยาวขึ้น
  3. อาหาร มีส่วนสำคัญมากในการเจริญเติบโตของร่างกายซึ่งรวมถึงกระดูก ดังนั้นสารอาหารที่สร้างเสริมกระดูกจึงมีความสำคัญต่อความสูง ส่วนประกอบสำคัญของกระดูกคือ แคลเซียม ฟอสฟอรัส และโปรตีนในเนื้อกระดูก การกินอาหารที่มีโปรตีนและพลังงานเพียงพอจึงมีความสำคัญต่อการขยายตัวของกระดูก
  4. โปรตีน มีความสำคัญต่อการขยายตัวและแบ่งตัวของเซลล์กระดูกบริเวณส่วนปลายของกระดูกยาว ทำให้กระดูกมีการขยายตัวมากขึ้น โปรตีนที่เพียงพอจึงมีความจำเป็นต่อการเติบโตของกระดูกอย่างมาก
  5. การออกกำลังกาย ผลของการออกกำลังต่อการเจริญเติบโต “อาจมีผลดีต่อความสูงได้เพียงบางส่วน” แต่ไม่เด่นชัดมากนัก การออกกำลังระดับปานกลาง ช่วยเพิ่มระดับฮอร์โมนเจริญเติบโตชั่วคราว หลังจากการออกกำลัง แต่ระดับฮอร์โมนเจริญเติบโตรวมตลอด 24 ชั่วโมง ไม่มีข้อมูลชัดเจนว่ามีระดับสูงขึ้น
  6. โรคหรือความเจ็บป่วยเรื้อรัง เช่น โรคตับ โรคไต โรคหัวใจ โรคโลหิตจาง ทาลัสซีเมีย วัณโรค โรคเอดส์ ทำให้ร่างกายสร้างฮอร์โมนไอจีเอฟ-1ลดลง การเจริญเติบโตช้าลง และไม่สูงเต็มที่ตามศักยภาพพันธุกรรม
  7. ยาหรือฮอร์โมนบางชนิด เช่น สเตียรอยด์มีผลในการกดฮอร์โมนเจริญเติบโตและมีผลต่อกระดูกโดยตรง ทำให้การสร้างมวลกระดูกลดลงและการสลายกระดูกเพิ่มขึ้น มีผลในการต้านฤทธิ์ของวิตามินดี จึงทำให้เกิดภาวะกระดูกพรุนหรือกระดูกบางลง การเจริญเติบโตช้าลง ความสูงเต็มที่ต่ำกว่าศักยภาพพันธุกรรม
  8. การนอนหลับ การนอนหลับสนิทมีความเกี่ยวข้องกับการหลั่งฮอร์โมนการเจริญเติบโต จึงแนะนำให้เด็กนอนหลับสนิทให้เพียงพอเพื่อการเจริญเติบโตที่ปกติ

ดังนั้น หากผู้พ่อแม่พบว่าความสูงของลูกต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน ควรพาเด็กไปพบกุมารแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุที่ทำให้การเจริญเติบโตผิดปกติ เพื่อทำการวินิจฉัยหาสาเหตุ และให้การรักษาแต่เนิ่นๆ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *