ดูแลอย่างไร เมื่อเจ้าตัวเล็กเป็นเด็ก “ขาดสารอาหาร”

0

ภาวะโภชนาการที่ดี เป็นรากฐานสำคัญของการมีสุขภาพดีตลอดชีวิตโดยเฉพาะในช่วงที่มีการเจริญเติบโตตั้งแต่ในครรภ์มารดาจนถึงวัยรุ่น หากขาดอาหาร ไม่เพียงแค่แสดงให้เห็นทางกายภาพว่าเด็กตัวเล็ก ผอม  เตี้ย แต่ยังมีผลต่อการพัฒนาสมอง ทำให้สติปัญญาต่ำ เรียนรู้ช้า นำไปสู่ปัญหาต่างๆ เมื่อเด็กโตเป็นผู้ใหญ่

เมื่อลูกน้อยตกอยู่ในภาวะ “ขาดสารอาหาร” นอกจากพ่อแม่ผู้ปกครองต้องพาไปพบแพทย์เพื่อตรวจร่างกายว่า เจ็บป่วยหรือมีโรคประจำตัวที่มีผลต่อการเจริญเติบโตหรือไม่ ถ้ามี ให้อยู่ในความดูแลของแพทย์แล้ว ยังต้องใส่ใจดูแลเพื่อฟื้นฟูสุขภาพของเจ้าตัวซน โดยมีคำแนะนำในการบริโภคอาหารสำหรับเด็กขาดสารอาหาร (น้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์/ เตี้ย/ ผอม)  สรุปได้ดังนี้

how-to-care-when-a-child-lack-of-nutrients

  1. กินอาหารให้ครบทุกกลุ่ม ได้แก่ กลุ่มข้าว-แป้ง กลุ่มผัก กลุ่มผลไม้ กลุ่มเนื้อสัตว์ และกลุ่มนม ในปริมาณที่เหมาะสมและควรกินให้หลากหลาย โดยดูปริมาณอาหารที่แนะนำใน 1 วัน กินผักและผลไม้ทุกวัน อย่างน้อยวันละ 1 มื้อ หรือกินผลไม้ ประมาณ 10 คำ ต่อวัน สลับชนิดกันไป
  1. เพิ่มอาหารประเภทที่ให้พลังงาน เพื่อให้เด็กมีน้ำหนักและส่วนสูงเพิ่มขึ้น ได้แก่ อาหารประเภทข้าว-แป้งเช่น ข้าวเจ้า ข้าวเหนียว ก๋วยเตี๋ยว ขนมจีน ขนมปัง เผือก มัน เป็นต้น และอาหารไขมัน เช่น น้ำมัน โดยการปรุงอาหารด้วยวิธีทอดหรือผัด และกะทิ อาจทำเป็นกับข้าวหรือขนมหวานแบบไทยๆ เช่น กล้วยบวดชี
  1. ในเด็กเตี้ย ให้เพิ่มอาหารพวกเนื้อสัตว์ให้เด็กกิน เช่น ไข่ หมู ไก่ ปลา เพื่อเพิ่มโปรตีน และเพิ่มอาหารที่ให้แคลเซียม ได้แก่ นม ปลากระป๋อง ปลาที่กินได้ทั้งกระดูก เช่น ปลาตัวเล็ก กุ้งฝอย เต้าหู้ (ยกเว้นเต้าหู้หลอดไข่และน้ำเต้าหู้เพราะให้แคลเซียมเพียงเล็กน้อย) โดยเฉพาะนม เด็กควรดื่มนมทุกวันๆ ละ 2-3 กล่อง
  1. ให้มีอาหารระหว่างมื้อ ได้แก่ อาหารว่างเช้า และบ่าย
  1. อย่าให้เด็กกินขนม-น้ำหวาน น้ำอัดลม ก่อนเวลาอาหารประมาณ 1.5 – 2 ชั่วโมง
  1. จัดหาอาหารเสริมที่มีพลังงานและโปรตีนสูง เช่น นม ไข่ ถั่วลิสง ให้กับเด็กขาดอาหารกินทุกวันจนกว่ากลับเข้าสู่กลุ่มเสี่ยง

ทั้งนี้ พ่อแม่ควรดำเนินการแก้ไขปัญหาทั้งเด็กขาดอาหาร และกลุ่มเสี่ยงต่อการขาดอาหาร เนื่องจากเด็กที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงมีโอกาสขาดอาหารได้ง่าย จึงควรป้องกันไว้ก่อนค่ะ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *