5 ลักษณะ “ความผูกพัน” ทำลาย “ความสัมพันธ์”

0

ในความสัมพันธ์ใดๆ ย่อมก่อให้เกิด “ความผูกพัน

ความผูกพัน (Attachment หรือ Affective Involvement) หมายถึง  ระดับความรู้สึกห่วงใยที่บุคคลมีต่อกัน รวมทั้งความสนใจและการเห็นคุณค่าของกันและกัน

สำหรับคู่ครองคนรัก  ความผูกพันมีหลายแบบ  ซึ่งความผูกพันบางแบบนั้นนอกจากไม่ส่งเสริมความสัมพันธ์แล้ว  ยังส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์อีกด้วย  ดังนี้

5-characteristics-engagement-destructive-relationship

ผูกพันจนเหมือนเป็นบุคคลเดียวกัน (Symbiotic Involvement) 

เป็นความผูกพันที่แน่นแฟ้นจนทั้งคู่เหมือนเป็นบุคคลเดียวกันและไม่มีขอบเขตส่วนตัวเลย

ผูกพันมากเกินไป (Over Involvement)

ความผูกพันเป็นไปอย่างปกป้อง หรือจุ้นจ้านมากเกินไป และอีกฝ่ายหนึ่งมีความเป็นส่วนตัวหรือเป็นตัวของตัวเองน้อยมาก

ผูกพันเพื่อตนเอง (Narcissistic Involvement)

ความสนใจในอีกฝ่ายหนึ่งไม่ได้เป็นไปอย่างจริงใจ แต่เป็นไปเพื่อตนเอง (Egocentric) และเพื่อเสริมสร้างคุณค่าให้ตนเอง

ผูกพันโดยปราศจากความรู้สึก (Involvement Devoid of Feeling)

คู่สมรสไม่มีความลึกซึ้งทางอารมณ์และความห่วงใยด้วยน้ำใสใจจริง ความสนใจที่มีต่ออีกฝ่ายหนึ่งเป็นไปเพราะความอยากรู้อยากเห็น อยากควบคุมหรือเป็นไปตามหน้าที่ เช่น สามีที่มีภรรยาน้อย แต่ต้องมาแสดงความห่วงใยภรรยาหลวงยามเจ็บไข้ เป็นต้น 

ปราศจากความผูกพัน (Lack of Involvement) 

คู่สมรสหรือคู่รักไม่มีความสนใจใยดีกันเลย เป็นแบบต่างคนต่างอยู่ ชีวิตคู่มีความหมายเพียงการมาอยู่ร่วมชายคาเดียวกันเท่านั้น

ความสมดุลระหว่างความผูกพันและความเป็นอิสระเป็นตัวของตัวเองเป็นสิ่งสำคัญและจะแตกต่างกันไปในแต่ละคู่ สามีภรรยาอาจมีความต้องการแตกต่างกัน เช่น สามีต้องการความเป็นตัวของตัวเองมาก แต่ภรรยาต้องการความผูกพันมาก

ดังนั้น คู่สมรสหรือคู่รักต้องตระหนักถึงความแตกต่างนี้และพยายามทำให้ความผูกพันที่มีต่อกันเป็นไปอย่างเหมาะสมกับความต้องการของแต่ละฝ่าย หากความผูกพันเป็นไปอย่างเหมาะสมก็จะทำให้เกิดปัญหาได้ค่ะ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *