7 วิธีกระตุ้นให้ลูกรักการอ่านตั้งแต่แบเบาะ

0

ไม่ได้โม้นะคะ… หากคุณแม่อยากให้ลูกน้อยรักการอ่านเมื่อโตขึ้น ไม่มีคำว่าเร็วไปสำหรับการเริ่มต้นหรอกค่ะ  ทำอย่างไรให้เบบี๋สนใจการอ่านได้บ้าง  เรามาดูกันค่ะ

7 วิธีกระตุ้นให้ลูกรักการอ่านตั้งแต่แบเบาะ (2)

ทำให้เป็นเรื่องสนุก

เด็กกับการเล่นเป็นของคู่กัน หนังสือวัยนี้จึงต้องเป็นของเล่นได้ด้วย เช่น หนังสือลอยน้ำที่ดึงความสนใจลูกได้ดี ไม่เพียงทำให้อาบน้ำง่ายขึ้น แต่ยังสร้างความรู้สึกคุ้นเคยหนังสือให้ลูกรักการอ่านได้ด้วย    หนังสือ เด็กวัยนี้ควรเป็นเสมือนของเล่นมีเสียง เช่น เขย่าแล้วมีเสียง หรือกดปุ่มต่าง ๆ แล้วมีเสียงเป็นเสียงร้องของไก่ เป็ด กบ หรือเสียงธรรมชาติต่าง ๆ เพื่อดึงความสนใจให้ลูกรู้จักฟัง รู้จักแยะแยะเสียงต่าง ๆ ได้อย่างสนุกสนานเพลิดเพลินด้วย

เนื้อหาเหมาะสมตามวัย

เลือกหนังสือให้เหมาะสมกับความสนใจของวัยเบบี๋ มีรูปเล่มที่ดึงดูดความสนใจ มีสีสันสดใส มีเนื้อหาไม่ยาวเกิน ใช้คำง่ายๆ สั้นๆ หรือเป็นคำคล้องจองสั้นๆ  เพราะความสนใจของลูกยังอยู่ในช่วงเวลาสั้นๆ เท่านั้น  หากเรื่องยาวก็จะทำให้ลูกจะหมดความสนใจได้ค่ะ

สีสันสะดุดตา

มีภาพสื่อความหมายเข้าใจง่าย ชัดเจน มีสีสันสดใส เป็นภาพเหมือนจริงที่ลูกรู้จัก เช่น สัตว์ ต้นไม้ ดอกไม้ ธรรมชาติรอบตัว เพื่อกระตุ้นให้ลูกสนใจ โดยเฉพาะเมื่อพูดคุยถึงภาพหนังสือ เช่น “มีรูปเป็ดด้วย เป็ดร้องว่าไงจ๊ะ ก้าบ ก้าบ ก้าบ ใช่ไหมเอ่ย”

7 วิธีกระตุ้นให้ลูกรักการอ่านตั้งแต่แบเบาะ (1)

น้ำเสียงคนเล่าเร้าใจ

เสียงเป็นตัวกระตุ้นความสนใจของเด็กได้เป็นอย่างดี เพราะลูกเริ่มฝึกการฟังมาตั้งแต่อยู่ในครรภ์ คุณคุณพ่อคุณแม่ควรอ่านนิทานให้ลูกฟังเป็นประจำโดยใช้ระดับเสียงสูง ๆ ต่ำ ๆ มีจังหวะไม่ช้าไป ไม่เร็วไป  ที่สำคัญต้องออกเสียงดังฟังชัด  ถึงจะฟังไม่เข้าใจ  แต่ลูกก็สนใจมาก แถมลูกยังสนใจหนังสือที่คุณพ่อคุณแม่อ่านด้วย   ในที่สุดลูกก็เริ่มสนใจที่จะอ่านหนังสือด้วยเองเมื่อถึงวัยที่เหมาสมค่ะ

ท่าดีมีชัยไปกว่าครึ่ง

ควรใช้ท่าทางประกอบเพื่อให้ลูกเห็นภาพ  สามารถจิตนาการ  เสริมการเรียนรู้และง่ายต่อการจดจำสิ่งๆ  เช่น ทำมือเป็นนกบิน  ดึงหูยานเป็นกระต่าย   สะบัดมือเป็นใบไม้ยามต้องลม ใช้หุ่นนิ้ว หุ่นมือเล่าเรื่อง สวมที่คาดผมรูปสัตว์ สวมหมวก หน้าสัตว์ ตุ๊กตาประกอบตามท้องเรื่องจะยิ่งเพิ่มความน่าสนใจให้ลูกอยากอ่านได้ดี

 

แสดงสีหน้าให้ชัด

ขณะอ่านนิทาน  ลูกจะเฝ้ามองใบหน้า  ริมฝีปาก  รอยยิ้มของคุณพ่อคุณแม่    ซึ่งอากัปกิริยาเหล่านี้ก็ถือเป็นการสื่อภาษาที่ช่วยให้ลูกจดจำและจำแนกน้ำเสียงกับสีหน้าได้เป็นอย่างดี   จะยิ่งช่วยให้ลูกรู้จักรับรู้อารมณ์หลากหลาย

อ่านซ้ำไปซ้ำมา

ทฤษฎีการทำซ้ำยังเป็นวิธีที่ได้ผลในการฝึกการเรียนรู้ การเล่าเรื่องเดิมๆ ทำน้ำเสียงและท่าทางแบบเดิมๆ จะเพิ่มโอกาสให้ลูกสามารถจดจำรายละเอียดต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว จนเกิดการเลียนแบบและสามารถพัฒนาไปสู่การปฏิบัติจริงได้เอง  เมื่อลูกประทับใจหรือจดจำสิ่งที่คุณทำได้  ลูกก็ทำแบบเดียวกันเมื่อสามารถทำได้ค่ะ
การอ่านเป็นพื้นฐานสำคัญสำหรับการเรียนรู้ในอนาคต  อยากให้ลูกรักการอ่าน  เริ่มตั้งแต่วันนี้เลยค่ะ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *