“ปานแดงในเด็กเล็ก” กลายเป็นเนื้องอกโรคสุดเสี่ยงของเบบี๋

0

เด็กทารกหลายคนมักเกิดมาพร้อมปานต่างๆ แต่งแต้มผิวด้วย สำหรับปานที่มีลักษณะเป็นตุ่มหรือก้อนนูนสีแดงเข้ม พบในช่วง 1-4 สัปดาห์หลังคลอด ระยะแรกจะขยายเร็วจนถึงอายุประมาณ 1 ขวบ จากนั้นสีจะม่วงคล้ำขึ้น เรียกว่า “ปานแดงในเด็กเล็ก” (Infantile hemangioma) เป็นโรคสุดฮิตของเบบี๋ก็ว่าได้ค่ะ

“ปานแดงในเด็กเล็ก”

Newborn baby foot

โรคเนื้องอกของหลอดเลือดชนิดที่ไม่ใช่มะเร็ง และไม่ใช่โรคติดต่อ เป็นเนื้องอกที่ผิวหนัง ประกอบด้วยเซลล์ที่เป็นส่วนประกอบของหลอดเลือด เนื้องอกจึงมีสีแดงหรือสีแดงเข้ม ทั้งนี้ขึ้นกับระดับความลึกของเนื้องอก สำหรับสาเหตุของโรคยังไม่ทราบ

แต่มีปัจจัยเสี่ยง ได้แก่…

  • ทารกเพศหญิง
  • คลอดก่อนกำหนด
  • ทารกน้ำหนักน้อย
  • มารดาอายุมากกว่า 30 ปี
  • มารดาคลอดบุตรมาแล้วหลายคน

เมื่อแรกเกิด มักจะยังไม่พบปานแดงในเด็กเล็ก โดยอาจพบได้เป็นลักษณะของผิวหนังที่มีเส้นเลือดฝอยอยู่มาก ผิวหนังจะมีสีเข้มขึ้นกว่าปกติ หรือสีซีดกว่าปกติ ในบริเวณที่กำลังจะมีปานแดงในเด็กเล็กเกิดขึ้น

ส่วนมาก เนื้องอกปานแดงนี้ จะเริ่มขยายขนาดขึ้นภายในขวบปีแรกของเด็ก โดยจะขยายขนาดอย่างรวดเร็วในช่วงอายุ 1 ถึง 5 เดือน จากนั้นจะเข้าสู่ระยะที่เนื้องอกลดขนาดลง จนค่อย ๆหายไปในที่สุด

เนื้องอกที่อยู่ในผิวหนังชั้นบนจะมีสีแดงสด หากอยู่ในผิวหนังชั้นลึกจะมีสีออกน้ำเงิน รูป ร่างของเนื้องอกอาจเป็นก้อนหรือเป็นผืนหนาๆ โดยทั่วไปขนาดจะอยู่ระหว่าง 0.5-5 เซนติเมตร ส่วนใหญ่จะเกิดที่ผิวหนัง แต่บางครั้งอาจเกิดได้ในส่วนอื่นๆของร่างกาย เช่นที่ ตับ ม้าม กล่องเสียง ระบบทางเดินอาหาร

ทั้งนี้ ผู้ป่วยส่วนใหญ่เนื้องอกจะยุบหายไปก่อนอายุ 7 ปี หลังจากเนื้องอกหายไปแล้ว แต่ในบางรายพบว่ามีรอยของเนื้องอกหลงเหลืออยู่ในลักษณะเป็นแผลเป็น

เนื่องจากโรคปานแดงในเด็กเล็ก เป็นโรคที่ยังไม่ทราบสาเหตุของการเกิด จึงยังไม่สามารถป้องกันโรคนี้ได้ แต่โดยปกติแล้ว ในเด็กทารก จะมีการตรวจร่างกายทุกครั้งที่ฉีดวัคซีนอยู่แล้ว จึงจัดเป็นการเฝ้าระวังโรคปานแดงในเด็กเล็กไปในตัว ฉะนั้นพอแม่ควรติดตามการเจริญเติบโตอย่างใกล้ชิด หมั่นพบแพทย์และพบแพทย์ตามนัดเสมอ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *