วิธีเช็คและสัญญาณอันตรายของ “ภาวะตัวเหลืองในทารก”

0

“ภาวะตัวเหลือง” เป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในทารกแรกเกิด โดยพบได้มากถึงร้อยละ 50 ของทารกแรกคลอด!

และอาจจะพบมากขึ้นเมื่อทารกคลอดก่อนกำหนด ภาวะนี้เกิดจากสารสีเหลืองชื่อ “บิลิรูบิน” ในเลือดสูงกว่าปกติ การมีระดับบิริรูบินสูงมากๆ จะมีผลทำให้บิริรูลินเข้าสู่สมอง ถึงขั้นทำให้สมองพิการได้!!

ภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิด

how-to-check-and-danger-signs-yellowing-of-the-baby

  1. ภาวะตัวเหลืองปกติ ทารกจะไม่มีความผิดปกติอื่นร่วมด้วย ซึ่งทารกจะสามารถหายเองได้ในเวลาประมาณ 2 สัปดาห์และไม่ส่งผลกระทบต่อพัฒนาการทางสมองของทารก
  2. ภาวะตัวเหลืองผิดปกติเนื่องจากมีพยาธิสภาพ มีสาเหตุได้หลายอย่าง เช่น ภาวะหมู่เลือดแม่กับลูกไม่เข้ากัน, ภาวะเม็ดเลือดแดงขาดเอ็มไซม์ G6PD, ทารกได้รับนมแม่ไม่เพียงพอ เป็นต้น

ทั้งนี้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.คณิสส์ เสงี่ยมสุนทร ภาควิชาชีวเคมี คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลเคยให้คำแนะนำไว้ว่า คุณพ่อคุณแม่สามารถตรวจดูว่า ลูกตัวเหลืองหรือไม่อย่างง่ายๆ โดยใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้กดเบาๆ ที่ผิวหนังของทารกพร้อมกับแยกนิ้วออกจากกันเพื่อรีดเลือดออกจากเส้นเลือดฝอยในบริเวณที่จะสังเกตสีผิวที่แท้จริง

ควรตรวจในบริเวณที่มีแสงสว่างเพียงพอและเริ่มจากใบหน้า เนื่องจากทารกจะเริ่มเกิดภาวะตัวเหลืองจากใบหน้า หน้าอก ท้อง แขน ขา หน้าแข้ง ฝ่ามือและผ่าเท้า อย่างไรก็ตามการตรวจสีผิวของทารกอาจเกิดความคลาดเคลื่อนได้เพราะขึ้นอยู่กับลักษณะการแยกสีผิวเดิมของทารกและไม่สามารถตรวจได้ถ้าทารกมีสีผิวคล้ำมาก

หากพบว่าเบบี๋มีอาการดังต่อไปนี้ร่วมด้วย ควรรีบพามาพบแพทย์โดยเร็วที่สุด!

  1. ลูกตัวเหลืองมากหรือตัวเหลืองเพิ่มขึ้นเร็ว (ถ้าไม่แน่ใจควรพามาพบแพทย์ เพราะการตรวจดูตัวเหลืองด้วยตาเปล่าอาจผิดพลาดได้)
  2. สีอุจจาระซีดลง หรือปัสสาวะสีเหลืองเข้มมากหรือเป็นสีน้ำปลา
  3. มีไข้ ซึม ไม่ดูดนม ท้องอืด เกร็ง หรือชัก

ฉะนั้น สิ่งสำคัญที่คุณแม่ไม่ควรละเลย คือ การฝากครรภ์ ยิ่งเร็วเท่าไหร่ก็ยิ่งดีเพื่อตรวจหาความผิดปกติแต่เนิ่นๆ เนื่องจากโรคบางอย่างสามารถหายขาดได้หากรีบทำการรักษาค่ะ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *