วิธีดูแล “ดวงตาเด็ก” ตามช่วงอายุ

0

“ดวงตา” เป็นอวัยวะสำคัญที่ต้องได้รับการดูแลเอาใจใส่ตั้งแต่แรกเกิด โดยเด็กจะต้องจ้องมองได้เมื่ออายุไม่เกิน 2 เดือน โดยจะมองหน้าแม่ขณะให้นม และมองตามหน้าแม่ที่ขยับไปมาได้ เมื่ออายุ 2–6 เดือน จะมองตามสิ่งของใหญ่ๆ ที่ไม่มีเสียง และเมื่ออายุมากกว่า 6 เดือน ร่วมกับมีพัฒนาการทางร่างกายด้านอื่นๆ

ข้อมูลจากหนังสือ Health ME สุขภาพดี สร้างได้ โดย กรมอนามัย ให้ข้อมูลที่น่าสนใจแก่พ่อแม่มือใหม่ว่า หากสังเกตเห็นความผิดปกติของดวงตาลูกดังต่อไปนี้ พ่อแม่ต้องรีบพาไปพบจักษุแพทย์ทันที

how-to-care-for-eyes-of-baby-by-age

  1. ช่วงแรกเกิด – 6 เดือน หากมีอาการตาดำสั่นไม่นิ่ง ไม่จ้องหรือมองตาม เห็นสีขาวขุ่นในตาดำ
  1. ช่วงอายุ 1 – 3 ปี ลูกมีตาดำเขเข้าในหัวตาเป็นบางครั้ง โดยเฉพาะเวลาดูอะไรใกล้ๆ อาจมีอาการเอียงหน้าหรือเอียงคอมอง ซึ่งอาจเกิดจากปัญหากล้ามเนื้อตา หากปล่อยไว้นานเกินไปอาจมีปัญหาเรื่องการมองเห็น คือ มีสายตามัวหรือภาวะตาขี้เกียจ
  1. ช่วงอายุ 3 – 5 ปี ลูกมักดูหนังสือ หรือดูโทรทัศน์ในระยะใกล้ บ่นปวดศีรษะในตอนเย็นหรือหลังเลิกเรียน บ่นว่ามองกระดานไม่ชัด อาจเกิดจากปัญหาสายตาผิดปกติ หรือมีตาดำเขเข้าหรือเขออกเป็นครั้งคราวเวลาเด็กเผลอตัวเวลาดูทีวี อาจเกิดจากปัญหากล้ามเนื้อตา

นอกจากนี้ พ่อแม่ ผู้ปกครองต้องหมั่นสังเกต อาทิ ความสมดุลของรูปหน้า ด้านซ้ายด้านขวาแตกต่างกันหรือไม่ ตาดำสองข้างมีรูปตาข้างใดโตกว่าหรือเล็กกว่ากันเมื่อลืมตาเต็มที่หนังตาเปิดกว้างเท่ากันหรือไม่ บางคนหนังตาตกข้างเดียว ทำให้มีอุปสรรคต่อการมองเห็น มีสีขาวขุ่นอยู่ตรงกลางโดยไม่ทราบสาเหตุ

หรืออาการผิดปกติ เช่น น้ำตาไหลเอ่อตาอยู่เสมอ ขยี้ตาอยู่บ่อยๆ ตาขาวไม่ขาว มีสีแดงเรื่อๆ เวลามองแสงจ้าจะหรี่ตาข้างใดข้างหนึ่งเป็นประจำ หรือเงยหน้าดูจึงจะเห็นชัด มีพัฒนาการทางร่างกายช้าไม่สัมพันธ์กับการมองเห็น เช่น เด็กอายุ 3 – 4 เดือน ควรจะมองหน้าและประสานสายตากับแม่ได้ สามารถแสดงกิริยายิ้มโต้ตอบเมื่อมีอารมณ์พอใจ

โรคตาในเด็กส่วนใหญ่หากรักษาช้าก็จะทำให้การรักษาไม่ได้ผลดีเท่าที่ควร โดยเฉพาะเด็กที่มีสายตาเลือนราง อาจทำให้ตาบอดได้ ฉะนั้น เมื่อพบความผิดปกติให้รีบพาไปพบจักษุแพทย์ เพื่อรับการรักษา

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *