IPD ในเบบี๋ เสี่ยงพิการ – เสียชีวิต ป้องกันดีกว่ารักษา

0

โรคไอพีดี เป็นโรคติดเชื้อร้ายแรงในเด็ก สามารถติดต่อสู่กันได้ผ่านการไอหรือจามเหมือนกับการแพร่เชื้อไข้หวัดธรรมดา แต่จะมีอาการร้ายแรงกว่าไข้หวัดมาก หากเด็กป่วยเป็นโรคดังกล่าวและไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที ก็มีโอกาสที่จะเสียชีวิตหรือพิการได้สูง

คำถามคือคุณแม่จะปกป้องเบบี๋จากโรคนี้ได้ยังไง?

little boy with lots of question marks

โรคไอพีดี (IPD) หรือโรคติดเชื้อนิวโมคอคคัส เกิดจากเชื้อนิวโมคอคคัส ซึ่งเป็นเชื้อชนิดแพร่กระจายที่อันตราย มักอาศัยอยู่ในโพรงจมูกหรือคอของคนทั่วไป ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่

ส่วนใหญ่ไม่มีอาการใดๆ เรียกว่าเป็นพาหะ แต่จะแพร่กระจายเชื้อไปสู่ผู้อื่นได้ง่ายโดยการไอ จาม ทำให้ละอองเสมหะแพร่กระจายออกไปเช่นเดียวกับโรคหวัด โดยพบว่าอัตราการเป็นพาหะของเชื้อจะสูงมากในเด็กโดยเฉลี่ยกว่าร้อยละ 50  ถ้าเชื้อนี้เข้าสู่เด็กเล็กซึ่งยังมีภูมิต้านทานต่ำก็จะติดเชื้อง่าย

จากสถิติขององค์การอนามัยโลก พบว่า…

การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคด้วยวัคซีนสามารถลดจำนวนผู้เสียชีวิตได้ถึง 2 – 3 ล้านคนต่อปี 

โดยการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันด้วยวัคซีน ได้รับการยอมรับให้เป็นเครื่องมือที่ช่วยลดอัตราการเกิดโรคในเด็กและผู้ใหญ่ ไม่ว่าจะเป็น ลดการเกิดโรคคอตีบ, ไอกรน, บาดทะยัก, หัด, หัดเยอรมัน, คางทูม, ไวรัสตับอักเสบเอ, ไวรัสตับอักเสบบี, อีสุกอีใส รวมทั้งโรคติดเชื้อนิวโมคอคคัส

จากข้อมูลในประเทศไทยที่ทำการรวบรวมข้อมูลในจังหวัดสระแก้วและนครพนมได้แสดงให้เห็นว่าอุบัติการณ์ของโรคไอพีดีอยู่ที่ 3.6 ต่อ100,000 ประชากรต่อปี

ซึ่งอุบัติการณ์จะสูงขึ้นประมาณ 3 เท่าในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี และสูงขึ้นประมาณ 10 เท่าในเด็กอายุต่ำกว่า 1 ปี อย่างไรก็ตามอุบัติการณ์นี้น่าจะต่ำกว่าความเป็นจริงเพราะผู้ป่วยประมาณ 1 ใน 4 ได้รับยาปฏิชีวนะมาก่อน ซึ่งอาจทำให้ตรวจไม่พบจากการเพาะเชื้อได้ นอกจากนี้ผู้ป่วยด้วยโรคไอพีดียังมีอัตราการเสียชีวิตจากโรคนี้สูงถึงร้อยละ 23

โรคไอพีดีอาจมีความรุนแรงและเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้  สำหรับเด็กที่เป็นโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อนี้หากรอดชีวิต อาจจะมีความพิการและความผิดปกติทางระบบประสาทหลงเหลือ หรืออาจมีปัญหาการได้ยินซึ่งจะส่งผลต่อพัฒนาการและการพูดในอนาคตได้

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *