เบบี๋ “ไอ” แบบไหนต้องระวัง?

0

ในเด็กเล็กอาจจะเกิดอาการไอได้ไม่ใช่เรื่องแปลกนะคะ  แต่สาเหตุและอาการไอของลูกก็ไม่ใช่เรื่องที่คุณพ่อคุณแม่จะละเลยได้  เพราะหากลูกที่อาการไอที่เกิดจากการเจ็บป่วยเราจะได้ระวัง รักษาได้ตรงจุด  ก่อนที่อาการจะลกลามบานปลายจนแก้ไขไม่ทัน

เราสามารถสังเกตและจำแนกความแตกต่างของอาการไอจากแต่และสาเหตุ  ดังนี้ค่ะ…

cough (1)

ไอเพราะไข้หวัด

เป็นอาการไอที่เกิดหลังจากการเป็นหวัด ซึ่งมาจากการติดเชื้อไวรัสในอากาศ ฉะนั้น ถ้าลูกน้อยเป็นหวัด อาจทำให้ลูกมีไข้ น้ำมูกไหล กระตุ้นให้เกิดอาการไอ ระคายคอได้ ส่วนใหญ่เมื่ออาการหวัดของลูกหายไป (ภายใน 2-3 สัปดาห์) อาการไอก็จะหายไปด้วยค่ะ  คุณพ่อคุณแม่สามารถสังเกตอาการไอประเภทนี้ได้ร่วมกันอาการอื่นๆ เมื่อเป็นหวัด

ไอมีเสมหะ

มักจะมีอาการอักเสบที่คอร่วมด้วย  ไอเสียงเหมือนมีของเหลวอยู่ในลำคอ  เนื่องจากลูกยังเล็กมากไม่สามารถขับเสมหะออกเองได้  เสมหะจึงไหลลงคอ   ถ้าคออักเสบมากก็ยิ่งกระตุ้นให้ไอได้ง่าย การสังเกตลักษณะเสมหะจะช่วยให้คุณแม่วินิจฉัยได้ว่าเกิดจากอะไรค่ะ เช่น เสมหะมีสีเหลืองเขียวเกิดจากการติดเชื้ออักเสบ  เป็นไซนัสเสมหะจะใส    หรือหากมีสีขาวขุ่นอาจเกิดจากโรคภูมิแพ้ เป็นต้น

เพื่อความมั่นใจและการดูแลตามอาการอย่างเหมาะสม คุณแม่ควรพาลูกน้อยไปตรวจร่างกาย เช็กว่าเกิดจากอาการอักเสบเป็นไซนัสหรือเป็นอาการไอที่เกิดจากภูมิแพ้ หอบหืดค่ะ

ไอแห้ง ๆ

เป็นอาการไอที่ไม่มีเสมหะปนอยู่ด้วย อาจเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของอากาศ เช่น ช่วงหน้าหนาว เป็นเหตุให้เกิดอาการระคายเคืองในหลอดลมจมูก ร่างกายต้องปรับตัวให้เลือดมาเลี้ยงที่เยื่อบุจมูกมากขึ้น ทำให้เยื่อบุจมูกบวม เกิดอาการคัดจมูก น้ำมูกไหลเล็กน้อย รู้สึกระคายคอ ไอแห้ง ๆ หรือไม่ก็ทำให้เสียงแหบ  คุณพ่อคุณแม่ควรทำให้ลูกร่างกายอบอุ่น  อาจให้จิบน้ำบ่อยๆ  หรือผสมน้ำอุ่นนิดๆ ให้ลูกจิบก็ช่วยได้นะคะ

ไอเรื้อรัง

หากลูกมีอาการไอนานกว่า 3 สัปดาห์   อาจมีสาเหตุหลายเหตุผล เช่น เป็นโรคหอบหืด ลักษณะการไอจะไอติดต่อเป็นชุด ๆ   หรือเกิดจากหลอดลมไวต่อสิ่งกระตุ้น ถือเป็นภาวะหนึ่งที่ทำให้เกิดอาการไอเรื้อรัง เช่น การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิหรือสิ่งกระตุ้น เช่น กลิ่นฉุน ควันบุหรี่ ควันธูป ควันจากมลพิษ ก็กระตุ้นให้เกิดการไอได้  ซึ่งอาการเหล่าก็เป็นส่วนหนึ่งที่เกิดขึ้นจากอาการของโรคภูมิแพ้ได้เช่นกัน

 

ทำอย่างไรเมื่อลูกไอ?

cough (2)

  • จิบน้ำบ่อย ๆ ไม่ควรเป็นน้ำเย็นหรือร้อน ควรเป็นน้ำธรรมดาหรือน้ำอุ่น จะช่วยให้ชุ่มคอหรืออาจลองสูตรสมุนไพรในครัวใช้น้ำมะนาวมาผสมกับน้ำผึ้ง ให้ลูกจิบบ่อย ๆ ก็ช่วยบรรเทาลดอาการไอได้ดีค่ะ
  • เลี่ยงสถานที่มีคนอยู่เยอะหรือที่ที่มีมลพิษ เช่น ฝุ่น ควันพิษจากท่อไอเสีย เพราะมีโอกาสที่จะรับเชื้อโรค หรือกระตุ้นให้เกิดอาการไอได้ง่าย
  • งดอาหารประเภทของทอดของมัน น้ำแข็ง  หรือน้ำเย็นที่ถูกใจลูก เพื่อไม่ให้ไปกระตุ้นอาการไอให้มากขึ้น  และไม่ขัดขวางการรักษา
  • ถ้านอนห้องแอร์ ควรสวมใส่เสื้อผ้าหรือใช้ผ้าห่มให้ความอบอุ่นกับร่างกาย ถ้าเปิดพัดลมควรให้ส่ายไปมา เพื่อไม่ให้อากาศเย็นเกินไป จะยิ่งกระตุ้นให้หลอดลมหดตัวทำให้มีอาการไอมากขึ้น

สิ่งสำคัญที่สุด คือ ต้องไม่ด่วนวินิจฉัยโรคและซื้อยาให้ลูกรับประทานเองนะคะ   หากอากรอของลูกอยู่ในขั้นที่จำเป็นต้องได้รับการรักษาด้วยยา  ควรปรึกษาหรือขอคำแนะนำจากเภสัชกรหรือคุณหมอเท่านั้นค่ะ

 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *