2 ข้อควรปฏิบัติและ 2 ข้อห้ามในการดูแล “สะดือ” เบบี๋

0

หลังจากทารกคลอดออกมาแล้ว แพทย์จะตัดสายสะดือแล้วผูกไว้ ก่อนที่จะแห้งหลุดออกมา ในเด็กบางรายแม้สายสะดือจะหลุดแล้วแต่สะดือยังแฉะอยู่ เนื่องจากเส้นเลือดที่อยู่ในสายสะดือยังไม่แห้ง ทั้งนี้คุณแม่ไม่กล้าเช็ดสะดือเบบี๋ หรือดูแลทำความสะอาดด้วยวิธีที่ผิด ซึ่งความไม่รู้นี้อาจทำให้เกิดอันตรายแก่ทารกได้ค่ะ

2-actions-and-2-prohibitions-to-take-care-of-navel-of-baby

2 ข้อควรปฏิบัติในการดูแลสายสะดือทารก

  1. ก่อนดูแลทำความสะอาดสะดือเบบี๋ คุณพ่อคุณแม่ต้องล้างมือให้สะอาดและระวังอย่าไปสัมผัสบริเวณที่สายสะดือที่ยังไม่หลุด เพราะมีโอกาสติดเชื้อได้ง่าย
  1. ใช้สำลีก้านชุบน้ำต้มเดือดที่เย็นลงแล้ว มาทำความสะอาดบริเวณโคนของสายสะดือ ใช้สำลีก้านใหม่สำหรับการเช็ดแต่ละครั้ง เช็ดซ้ำจนกว่าโคนสายสะดือจะสะอาดหมดจด จากนั้นให้เช็ดและทำความสะอาดบริเวณปลายสายสะดือ โดยทำความสะอาดสายสะดืออย่างนุ่มนวลเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้เลือดออก ทั้งนี้ ไม่จำเป็นต้องใช้สบู่ ครีม ยาฆ่าเชื้อ หรือแอลกอฮอล์ในการทำความสะอาดสะดือเบบี๋ เว้นแต่เป็นอุปกรณ์หรือยาที่ทางโรงพยาบาลเตรียมไว้ให้

2 ข้อห้ามในการดูแลสายสะดือทารก

  1. ไม่ควรห่อผ้าอ้อมรัดแน่นเกินไปและควรห่อผ้าอ้อมให้ต่ำกว่าสะดือ ซึ่งจะช่วยให้สะดือแห้งและป้องกันภาวะเลือดออกเนื่องจากการเสียดสีของผ้าอ้อมกับสะดือ
  1. ไม่ควรให้เสื้อผ้าหรือผ้าอ้อมปิดทับบริเวณสะดือ ควรใส่ผ้าอ้อมให้ต่ำกว่าสะดือของลูกน้อยหรือทายาใดๆ ก็ตามบนสะดือ เช่น น้ำมัน ยาขี้ผึ้ง แป้งทาสะดือ หรือพลาสเตอร์ยา เป็นต้น

สัญญาณบ่งบอกว่าอาจมีการติดเชื้อของสายสะดือ เช่น มีรอยแดงบริเวณผิวรอบโคนของสายสะดือ, มีกลิ่นเหม็นหรือมีการสะสมของหนองเกิดก้อนเนื้อที่สะดือหลังจากที่สายสะดือได้หลุดออกไปแล้ว, สายสะดือและสะดือเหมือนถูกดันออกด้านนอกในขณะที่เด็กทารกร้องไห้, มีเลือดออกมาจากสายสะดืออย่างรุนแรง


หากพบสัญญาณบ่งบอกว่าอาจมีการติดเชื้อของสายสะดือ ควรรีบพาเบบี๋ไปพบแพทย์ เพื่อวินิจฉัยและรักษาอาการอย่างทันท่วงทีนะคะ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *