Tag Archives: โรคออฟฟิศซินโดรม

WFH ทำพิษ! นั่งนาน-นั่งไม่ถูกวิธี เสี่ยงป่วยออฟฟิศซินโดรม

จากนโยบายทำงานที่บ้าน หรือ Work From Home อาจก่อให้เกิด โรคออฟฟิศซินโดรม ตามมาได้ เนื่องจากอุปกรณ์สำนักงานในบ้านอาจไม่เพียงพอ ไม่เหมาะกับสรีระ หรือลักษณะการนั่งไม่ถูกวิธี

2 วิธีกดจุดลดอาการไหล่ตึงแบบได้ผล ในเวลาไม่กี่นาที!

ไหล่ตึง หลายคนที่ทำงานอยู่หน้าจอตลอดเวลาอาจมีอาการนี้ ซึ่งเป็นหนึ่งในอาการของกลุ่มออฟฟิศซินโดรม จากบทความเรื่อง 6 วิธีปรับพฤติกรรมเพื่อห่างไกล “ออฟฟิศซินโดรม” ได้บอกถึงแนวทางช่วยให้เราลดเสี่ยงเป็นออฟฟิศซินโดรม

6 วิธีปรับพฤติกรรมเพื่อห่างไกล “ออฟฟิศซินโดรม”

อาการบาดเจ็บที่เกิดจากการทำงานในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็น ปวดคอ บ่า ไหล่ หลัง เป็นผลมาจากการทำงานต่อเนื่องเป็นเวลานาน ประกอบกับความเร่งรีบต่างๆ บางครั้งทำให้ต้องอดอาหาร อดนอน หรือนอนดึก เมื่อบวกกับความเครียดและกดดันจากการทำงาน ล้วนเป็นสาเหตุให้เกิด “ภาวะออฟฟิศซินโดรม” ได้

ความดัน ไขมัน เบาหวาน โรคฮิตที่คนวัยทำงานปล่อยผ่านไม่ได้!

ประชากรวัยทำงาน ถือเป็นชนกลุ่มใหญ่ในบ้านเรา เป็นกำลังสำคัญในเชิงเศรษฐกิจ ดังนั้น การดูแลให้คนกลุ่มนี้มีสุขภาพที่ดีจึงเป็นเรื่องสำคัญ เพราะเมื่อมีสุขภาพดี ก็จะทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพสูงขึ้น ด้วยไลฟ์สไตล์ยุคใหม่ทำให้คนวัยทำงานเสี่ยงป่วยด้วยโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ กันมากขึ้น

ทำงานกับคอมพิวเตอร์นานๆ เสี่ยง “ตาและกล้ามเนื้ออักเสบ”

ปัจจุบันหลายคนทำงานจำนวนมากถึง 8 ชั่วโมงต่อวัน หรือมากกว่า และมักทำงานกับคอมพิวเตอร์ ซึ่งนั่งท่าเดิมนานๆ ก้มหน้าพิมพ์งาน ไม่เคลื่อนไหว หรือมองจอเพื่ออ่านข้อมูลต่างๆ เป็นเวลานาน ย่อมส่งผลเมื่อยตา ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ กระดูกข้อต่อเสื่อม และอาจรุนแรงถึงขั้นก่อโรคต่างๆ ได้ในอนาคต

“ออฟฟิศซินโดรม” โรคสุดฮิตของคนทำงาน!!

ยกให้เป็นกลุ่มอาการยอดนิยมของคนทำงานออฟฟิศ ที่วันๆ เอาแต่นั่งทำงานหน้าคอมพิวเตอร์ติดต่อกันนานๆ แทบจะไม่ได้ขยับร่างกายไปไหน นำไปสู่อาการกล้ามเนื้ออักเสบ ปวดเมื่อยหลัง ไหล่ คอ บ่า แขน ข้อมือ ที่น่ากลัวก็คือ หากไม่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเหล่านี้ อาจนำไปสู่อาการหมอนรองกระดูกเสื่อม หรือหมอนรองกระดูกกดทับเส้นประสาทได้

3 อาการ สัญญาณบอกเสี่ยงป่วยโรคออฟฟิศซินโดรม

สภาพแวดล้อมในที่ทำงานไม่เหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นการนั่งทำงานตลอดเวลา ไม่มีการเคลื่อนไหวร่างกาย สิ่งเหล่านี้ส่งผลให้เกิดอาการกล้ามเนื้อ บางรายที่มีอาการของหมอนรองกระดูกเคลื่อนอยู่แล้ว หากทำงานในอริยาบทที่ผิดจะทำให้มีอาการรุนแรงมากขึ้น