ไม่อยากให้ลูกเป็น “ออทิสติก” แม่ท้องป้องกันได้มั้ย??

0

ก่อนอื่นต้องบอกก่อนว่าเด็กพิเศษมีหลากหลายรูปแบบ บางลักษณะสามารถตรวจสอบทราบได้ตั้งแต่ตั้งครรภ์  แต่บางลักษณะก็ไม่สามารถทราบได้จกว่าลูกจะเกิดมา  คุณพ่อคุณแม่จึงมีความกังวลว่าลูกที่จะเกิดมามีโอกาสเป็นเด็กพิเศษหรือไม่ วันนี้เรามาทำความรู้จักเด็กพิเศษแต่ละกลุ่ม และวิธีการลดความเสี่ยงในเบื้องต้นกันค่ะ

เด็กพิเศษสังเกตได้อย่างไร

ortis (1)

  • กลุ่มที่รู้ได้ก่อนเกิด คือ กลุ่มที่เกิดความผิดปกติจากโครโมโซมต่างๆ ตั้งแต่ขั้นตอนการปฏิสนธิจนถึงพัฒนาการของตัวอ่อน  เช่น ดาวน์ซินโดรม เป็นความผิดปกติของโครโมโซมคู่ที่ 21 แล้วทําให้มีลักษณะรูปร่างหน้าตาที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว มีความผิดปกติทางร่างกายหลายอย่าง ร่วมกับมีความบกพร่องทางสติปัญญา สามารถตรวจได้ตั้งแต่ช่วง ที่ตั้งครรภ์ ได้ 2 เดือนกว่า จากการตรวจโดยวิธีพิเศษ เช่น การเจาะนํ้าครํ่าตรวจโครโมโซม การเจาะ เลือดตรวจทางชีวเคมี ซึ่งแนะนําให้ตรวจในหญิงตั้งครรภ์ที่มีอายุ35 ปีขึ้นไป เนื่องจากมีความเสี่ยงสูง  ส่วนปัญหาความผิดปกติของกระโหลกศีรษะ หรือรูปร่างลักษณะพิการ ผิดรูป ก็สามารถพบได้ โดยการทําอัลตร้าซาวน์ในช่วงตั้งครรภ์เช่นกันค่ะ
  • กลุ่มที่เกิดแล้วจึงรู้ เช่น สมองพิการ หรือ ซีพี (Cerebral Palsy) มีความผิดปกติในการเคลื่อนไหว กล้ามเนืออ่อนแรงหรือเกร็งมากกว่าปกติ พัฒนาการด้านกล้ามเนื้อล่าช้า สําหรับความ พิการทางร่างกายก็เป็นสิ่งที่สังเกตได้ไม่ยาก ส่วนปัญหาทางด้านการมองเห็นและปัญหาการได้ยิน ในรายที่เป็นมากก็สามารถสังเกตเห็นได้ชัดเจนตั้งแต่คลอดออกมาเช่นกัน
  • กลุ่มที่เกิดมาแล้วดูปกติดี สังเกตเห็นอาการผิดปกติได้ต่อเมื่อโตขึ้น เช่น ออทิสติก แอสเพอร์เกอร์ แอลดี สมาธิสั้น ออทิสติก ส่วนใหญ่จะรู้ได้ในช่วงขวบกว่าๆ เนื่องจากเริ่มเห็นความแตกต่างจากเด็กคนอื่น ชัดเจนขึ้น ข้อบ่งชี้ ที่ช่วยให้สงสัยได้ชัดเจนขึ้น

มีวิธีลดเสี่ยง.. เลี่ยงอย่างไร

ortis (2)

  1. ควรวางแผนครอบครัวก่อนมีลูก มีลูกเมื่อพร้อมมีลูกในช่วงเวลาที่เหมาะสมไม่ควรเกินอายุ 35 ปี
  2. ควรฝากครรภ์โดยเร็วที่สุดและควรฝากครรภ์อย่างต่อเนื่อง สมํ่าเสมอ ตามการนัดหมาย
  3. ควรรับประทานอาหารให้เพียงพอและหลากหลาย เพื่อให้ลูกได้รับสารอาหารครบถ้วน
  4. ควรพักผ่อนให้เพียงพอ ไม่หักโหมทํางานหนักเกินไป โดยการผ่อนคลายความเครียด หากิจกรรม งานอดิเรกเล็กๆน้อยๆทํา
  5. กรณีคุณแม่อายุ 35 ปีขึ้นไปควรตรวจร่างกายก่อนตั้งครรภ์ ดูแลตัวเองเป็นพิเศษ ปรึกษาคุณหมออย่างใกล้ชิด
  6. คุณแม่ที่เคยมีลูกเป็นดาวน์ซินโดรมหรือโครโมโซมผิดปกติแบบอื่น เคยแท้งโดยไม่รู้สาเหตุหลายครั้งควรแจ้งคุณหมอที่ฝากครรภ์เพื่อตรวจสอบเป็นกรณีพิเศษ

อย่างไรก็ตาม สุขภาพร่างกายที่แข็งแรง สภาพจิตใจที่แข็งแกร่ง เปี่ยมด้วยความสุข จะเป็นเกราะป้ องกันปัญหาและอันตรายต่างๆ  สำหรับลูกน้อยที่กําลังจะเกิดมาได้อย่างดีที่สุดค่ะ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *