เจอเลือดปนไขมันขณะปั๊มนม… อันตรายหรือไม่?

0

การเจอเลือดปนไขมันขณะปั๊มนมถือเป็นปัญหาชวนตระหนกตกใจสำหรับคุณแม่มือใหม่จำนวนไม่น้อย ทั้งในแง่ความกังวลต่อสุขภาพของตัวเอง ไปจนถึงความกังวลว่าจะเป็นอันตรายต่อลูก เกรงว่าเบบี๋ตัวน้อยดูดนมแล้วจะได้รับก้อนเลือด

ซึ่งไม่แน่ใจว่าเด็กน้อยสามารถหม่ำนมนั้นได้หรือไม่? อันตรายหรือเปล่า?

จากกรณีโซเชียลมีเดียแชร์ภาพพบก้อนไขมันปนเลือดออกมาขณะปั๊มนมให้บุตร จนแม่ที่ต้องให้นมบุตรกังวลเรื่องอันตราย เกี่ยวกับเรื่องนี้ พญ.ชัญวลี ศรีสุโข สูติ-นรีแพทย์เชี่ยวชาญ รพ.พิจิตร และโฆษกแพทยสภา ได้ให้ความรู้ว่า…

บริเวณเต้านมจะมีต่อมไขมันที่มีคุณสมบัติช่วยหล่อลื่นเวลาลูกดูดนม แต่ไม่มีตรงลานนมและหัวนม ซึ่งการพบเลือดปนไขมันออกมาขณะปั๊มนมนั้น อาจเกิดขึ้นจากการต่อมไขมันอักเสบ

นอกจากนี้การพบเลือดปนไขมันออกมาขณะปั๊มนมอาจเกิดจากการที่ลูกดูดนมแรงเกินไป แต่ไม่ต้องกังวลว่าขณะลูกดูดนมจะได้รับก้อนเลือด เพราะเวลาลูกดูดนมจะดูดแค่บริเวณลานนมหรือหัวนม ไม่ครอบคลุมไปถึงต่อมไขมันบริเวณผิวหนังเต้านม อย่างไรก็ตาม การปั๊มนมแล้วพบก้อนเลือดปนไขมันออกมาไม่ได้อันตราย เพียงแต่ไม่ควรนำมาให้ลูกรับประทานต่อ เพราะอาจเป็นเลือดที่เกิดจากการอักเสบของแม่

%e0%b9%80%e0%b8%a5%e0%b8%b7%e0%b8%ad%e0%b8%94%e0%b8%9b%e0%b8%99%e0%b9%84%e0%b8%82%e0%b8%a1%e0%b8%b1%e0%b8%99%e0%b8%82%e0%b8%93%e0%b8%b0%e0%b8%9b%e0%b8%b1%e0%b9%8a%e0%b8%a1%e0%b8%99%e0%b8%a1

ส่วนผู้หญิงที่เพิ่งคลอดลูกและไม่อยากให้เกิดภาวะเต้านมคัด สิ่งที่คนเป็นแม่ต้องปฏิบัติ คือ ให้ลูกดูดนมหลังคลอดประมาณ 2 – 3 ชั่วโมง อย่างไรก็ตาม ภาวะเต้านมคัดถือเป็นเรื่องปกติ แต่ต้องหมั่นสังเกตว่าเป็นเต้านมคัดหรือการอักเสบของเต้านม ซึ่งเกิดขึ้นได้จากน้ำนมคั่ง หรือจากเชื้อโรคในปากของลูก โดยวิธีสังเกตแยกอาการเต้านมคัดหรือเต้านมอักเสบ คือ เต้านมคัดจะมีอาการตึงที่เต้านม แต่หากอักเสบจะมีอาการเจ็บปวดและอาจมีภาวะไข้ร่วมด้วย เป็นต้น

การดูแลเต้านมคัดให้ใช้วิธีการประคบร้อนร่วมกับการให้ลูกดูดนมให้ถูกวิธีตามธรรมชาติ โดยยึดหลัก 3 ด ได้แก่ ดูดเร็ว คือ ดูดทันทีหลังคลอดภายใน 3 ชั่วโมง ดูดบ่อย คือ ให้ลูกได้ดูดนมแม่ทุก 2 ชั่วโมง และดูดถูกวิธี คือ การอุ้มลูกให้ถูกวิธีโดยการนำลูกมาแนบท้องแม่ และให้อมถึงลานนม โดยหากเลี้ยงลูกได้ถูกวิธีก็ถือเป็นตัวช่วยที่ดีในการลดปัญหาไม่พึงประสงค์

และที่ลืมไม่ได้สำหรับการเลี้ยงดูเบบี๋ คือ ความสะอาด นอกจากนี้คุณแม่ลูกอ่อนต้องรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ โดยเฉพาะโปรตีนและแคลเซียม ร่วมกับการดื่มน้ำให้เพียงพอด้วยนะคะ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *