แก้ไขปัญหา “พี่น้อง” ไม่ลงรอยกันยังไงดี??

0

เชื่อว่าหลายๆ บ้านที่มีลูกมากกว่า 1 คน  คงจะประสบปัญหาเรื่องพี่อิจฉาน้อง  รังแกน้อง  โดยเฉพาะน้องเบบี๋ที่เกิดมาใหม่แล้วเหมือนจะแย่งความรักความสนใจจากคนพี่ไปซะหมด  จนทำให้เกิดอาการน้อยใจและเรียกร้องความสนใจแบบผิดวิธี 

 

brethren-kids-quarrel (2)

จริงแล้วก่อนที่จะวางแผนมีลูกอีกคน  คุณพ่อคุณแม่เองก็ควรจะปูพื้นฐานความคิดความรู้สึกของลูกคนโตให้มีส่วนร่วมและรู้สึกรักหวงแหนน้อง  ให้เขารู้สึกว่าน้องเป็นสมบัติที่เขาต้องดูแลถนุถนอม ช่วยเหลือกันไปจนตลอดชีวิต  เมื่อน้องเกิดมาเราก็ควรจะใช้วิธีการเลี้ยงดูลูกแต่ละคนโดยให้ความรักและให้กำลังใจแก่ลูกอย่างถูกต้องยุติธรรม ดังนี้

ต้องไม่มีลูกคนโปรด

สิ่งสำคัญอย่างหนึ่งในการเลี้ยงลูกให้รักกันคือ การไม่มีลูกคนโปรด ลูกทุกคนจะไวต่อความรู้สึกและจับได้ว่าคุณพ่อคุณแม่มีความลำเอียง ถึงแม้ว่าบางครั้งในใจของคุณพ่อคุณแม่จะมีความรักต่อลูกคนใดคนหนึ่งเป็นพิเศษ แต่อย่าแสดงออกให้ลูกรู้ แต่ให้ลูกได้รับความรักที่เท่าเทียมกัน เพราะความลำเอียงจะก่อให้เกิดปัญหาในใจลูก เป็นเสมือนแผลเป็นที่ไม่รู้จักหาย และพร้อมจะกำเริบขึ้นมาทุกครั้งที่มีปัญหา

เสริมแรงให้ลูกเล่นด้วยกัน

brethren-kids-quarrel (1)

หากเราต้องการให้ลูกรักกันและมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันเราต้องให้ลูกเล่น และใช้เวลาร่วมกัน แม้บางทีลูกจะโต้เถียงและไม่ลงรอยกันบ้าง แต่ลูกจะได้เรียนรู้ ทักษะการเล่นด้วยกัน ทำกิจกรรมร่วมกัน คุณพ่อคุณแม่อาจต้องเข้าไปมีส่วนร่วมด้วยหากเห็นลูกเริ่มมีปฏิกิริยา โต้ตอบ หรือเข้าไปช่วยในบ้างครั้ง เพื่อลูกจะปรับตัวเข้ากับความแตกต่างของแต่ละคนได้ ดังนั้นจงส่งเสริมให้ลูกเล่นและทำกิจกรรมร่วมกัน

สอนลูกให้เป็นเพื่อนที่ดีต่อกัน

หากเราต้องการให้ลูกมีความสัมพันธ์ที่ดีและอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข เราต้องสอนลูกให้รู้จักการแสดงความเป็นเพื่อนกัน อาจจะต้องใช้เวลาแต่สิ่งนี้จะเป็นประโยชน์ภายหลัง ไม่ใช้เพียงแต่การแสดงความเป็นเพื่อนที่ดีต่อกันเท่านั้น แต่ลูกจะเรียนรู้การเห็นอกเห็นใจกัน เอาใจเขามาใส่ใจเรา หากลูกเรียนรู้สิ่งนี้แล้วจะเป็นประโยชน์ต่อลูกและการปรับตัวเข้ากับคนอื่นในอนาคตอีกด้วย

สอนให้ลูกแสดงความเห็นอกเห็นใจ

brethren-kids-quarrel (4)

หากลูกเริ่มเรียนรู้การเห็นอกเห็นใจผู้อื่น เมื่ออายุยังน้อย จะเป็นเหมือนศีลธรรม ประจำใจที่ติดตัวลูกไปเมื่อลูกโตขึ้น การแสดงออกถึงการเห็นอกเห็นใจ จะทำให้ลูกสนิทสนมกันมากขึ้นด้วยเมื่อลูกโตขึ้น

สอนให้ลูกเรียนรู้การให้อภัยกัน

เมื่อลูกอยู่ด้วยกัน แน่นอนการกระทบกระทั่งกันย่อมเกิดขึ้นได้ แต่ให้ลูกเรียนรู้จักการขอโทษ และเริ่มต้นเล่นด้วยกันใหม่ ให้เรามีมาตรฐานในครอบครัวว่าให้ลูกกล่าวคำขอโทษและสำนึกเมื่อลูกแสดงสิ่งที่ไม่ดีต่อกัน ลูกจะไปถึงมาตรฐานนั้นได้แน่นอน

คุยถึงเรื่องความสนิทสนม

brethren-kids-quarrel (3)

พยายามพูดให้ลูกได้ยินบ่อยๆ  ไม่ว่าจะกับลูกเองหรือคุยให้คนอื่นฟังโดยที่ลูกได้ยิน  ถึงความรักความสนิทสนมที่พี่น้องมีให้แก่กัน  เพราะนั่งเป็นเสมือนความคิดเชิงบวกที่ทำให้ลูกเชื่อคล้อยตามและทำอย่างที่คุณพ่อคุณแม่พูดโอ้อวดเข้าให้คนอื่นฟัง  และได้รับการชื่นชม  เช่น  เขาหวงน้องมาก  ดูแลตลอด  ช่วยแม่ป้อนนม  หยิบนู่นนี่ให้น้อง  เป็นต้น นอกจากนี้คุณพ่อคุณแม่ต้องมีความคิดทางบวกต่อสิ่งเหล่านี้ และใช้เทคนิคหลากหลายวิธีในการเรียนรู้ สอน และทำให้ดูเป็นตัวอย่างในเรื่องของการรักใคร่ ปรองดองกัน

เสริมแรงให้ลูกแสดงแบบของความรักที่เป็นเอกลักษณ์

เฉพาะสำหรับครอบครัว บางครอบครัวมีการตั้งฉายาให้แต่ละคน (ไม่ใช่การล้อเลียนหรือทำให้ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดเจ็บใจ) การล้อเล่นกันในแต่ละครอบครัว จะทำให้เราสนิทสนมและเป็นการแสดงเอกลักษณ์เฉพาะแบบของแต่ละคนอีกด้วย คุณพ่อคุณแม่ต้องทำให้ลูกแน่ใจว่าได้รับการเสริมแรงในข้อนี้
เคล็ดลับที่สำคัญที่สุด คือ   คุณพ่อคุณแม่ต้องใช้เวลากับลูกแต่ละคนอย่างเท่าเทียมกัน รักลูกทุกคนอย่างเพียงพอและไม่มีเงื่อนไข เพื่อที่ลูกจะซึมซับความรักเหล่านี้ และนำวิธีการเดียวกันไปใช้ออกมาใช้กับน้องและคนรอบข้างเขาค่ะ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *