ดูแลคนแก่ในบ้านอย่างไรให้สุขกายสบายใจ

0

ปัจจุบันครอบครัวขยายอาจจะลดน้อยลงไปมากเมื่อเทียบกับเมื่อสมัยอดีต   แต่ก็คงมีจำนวนไม่น้อยในปัจจุบันที่มีผู้สูงอายุในครอบครัวที่ต้องคอยดูแลเอาใจใส่  เมื่อคุณปู่คุณย่าคุณตาคุณยายเป็นหนึ่งในสมาชิกในครอบครัวย่อมอิทธิพลต่อรูปแบบครอบครัวของเราแน่นอนค่ะ 

หากท่านสุขกายก็จะสบายอารมณ์  สมาชิกก็อารมณ์ดีตามไปด้วย  แต่หากบ้านในคุณมีผู้สูงวัยที่เจ็บไข้ได้ป่วยตลอดเวลาก็พลอยทำให้เกิดบรรยากาศไม่ดีไปด้วย  ดังนั้นเราควรดูแลผู้สูงอายุในบ้านของเราให้มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง สุขภาพจิตของท่านก็จะดีไปด้วย   ทุกคนในครอบครัวก็มีความสุขค่ะ

ดูแลคนแก่ในบ้าน

วิธีการดูแลผู้สูงอายุ

  • เลือกกินอาหาร ควรลดอาหารประเภทแป้ง น้ำตาล  และไขมัน ให้เน้นอาหารโปรตีนจากเนื้อสัตว์ โดยเฉพาะปลา  และเพิ่มแร่ธาตุที่ผู้สูงอายุมักขาด  ได้แก่ แคลเซียม สังกะสี และเหล็ก  ซึ่งมีอยู่ในนม ถั่วเหลือง  ผัก ผลไม้  ธัญพืชต่างๆ  และควรกินอาหารประเภทต้ม นึ่ง ย่าง อบ แทนประเภทผัด ทอด จะช่วยลดปริมาณไขมันในอาหารได้  นอกจากนี้ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสหวานจัด  เค็มจัด  และดื่มน้ำสะอาดอย่างน้อย  6 – 8 แก้วต่อวัน
  • ออกกำลังกาย หากไม่มีโรคประจำตัว แนะนำให้ออกกำลังกายแบบแอโรบิกสัก 30 นาทีต่อครั้ง ทำให้ได้สัปดาห์ละ 3 – 4 ครั้ง  จะเกิดประโยชน์ต่อหัวใจและหลอดเลือดอย่างมาก โดยขั้นตอนการออกกำลังกายจะต้องค่อยๆ เริ่ม มีการยืดเส้นยืดสายก่อน แล้วค่อยๆ เพิ่มความหนักขึ้น จนถึงระดับที่ต้องการ ทำอย่างต่อเนื่องจนถึงระยะเวลาที่ต้องการ จากนั้นค่อย ๆ ลดลงช้า ๆ และค่อย ๆ หยุด เพื่อให้ร่างกายและหัวใจได้ปรับตัว
  • สัมผัสอากาศที่บริสุทธิ์ จะช่วยลดโอกาสการเกิดโรคได้ อาจเป็นสวนสาธารณะใกล้ๆสถานที่ท่องเที่ยว หรือการปรับภูมิทัศน์ภายในบ้านให้ปลอดโปร่ง สะอาด อากาศถ่ายเทสะดวก มีการปลูกต้นไม้ จัดเก็บสิ่งปฏิกูลให้เหมาะสม เพื่อลดการแพร่กระจายของเชื้อโรค และสามารถช่วยป้องกันโรคภูมิแพ้ หรือหอบหืดได้
  • หลีกเลี่ยงสิ่งทำลายสุขภาพ ได้แก่ บุหรี่และสุรา จะช่วยลดโอกาสการเกิดโรค หรือลดความรุนแรงของโรคได้  ทั้งลดค่าใช้จ่ายในการรักษา  และยังช่วยป้องกันปัญหาอุบัติเหตุ  อาชญากรรมต่างๆ อันเป็นปัญหาใหญ่ของสังคมในขณะนี้
  • ป้องกันการเกิดอุบัติเหตุโดยเลือกกิจกรรมให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคลและโรคที่เป็นอยู่ ส่งเสริมสุขภาพให้กล้ามเนื้อมีความแข็งแรง ปรับสภาพแวดล้อมในบ้านให้ลดความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุหรือการหกล้ม
  • หมั่นสังเกตอาการผิดปกติต่างๆ ของร่างกาย เช่น คลำได้ก้อน โดยเฉพาะก้อนโตเร็ว  แผลเรื้อรัง  มีปัญหาการกลืนอาหาร  กลืนติด  กลืนลำบาก  ท้องอืดเรื้อรัง  เบื่ออาหาร น้ำหนักลด  ไอเรื้อรัง  ไข้เรื้อรัง  เหนื่อยง่าย  แน่นหน้าอกหรือถ่ายอุจจาระผิดปกติ  มีอาการท้องเสียเรื้อรัง  ท้องผูกสลับท้องเสีย  ถ้าอย่างนี้ล่ะก็พามาพบแพทย์ดีที่สุด
  • ตรวจสุขภาพประจำปี แนะนำให้ตรวจสม่ำเสมอเป็นประจำทุกปี  หรืออย่างน้อยทุก 3 ปี โดยแพทย์จะทำการซักประวัติ  ตรวจร่างกาย และอาจมีการตรวจทางห้องปฏิบัติการ  เพื่อหาปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดแข็ง เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง  ตรวจหาโรคมะเร็งที่พบบ่อย ได้แก่  มะเร็งลำไส้  มะเร็งเต้านม  มะเร็งปากมดลูก และยังมีตรวจการมองเห็น  การได้ยิน ตลอดจนประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุด้วย

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *