ฝนมาพาลูกน้อยเสี่ยงติดเชื้อไวรัส RSV

0

ลมร้อนยังไม่ทันซา ฝนก็เริ่มมาพาให้เหล่าคุณพ่อคุณแม่หนักใจ เพราะเมื่อเข้าฤดูฝน ความเสี่ยงที่มีต่อการเจ็บป่วยของเด็กน้อยวัยแบเบาะยิ่งเพิ่มสูงขึ้น สำหรับโรคที่เราอยากจะแนะนำเพื่อให้เตรียมพร้อมรับมือ คือ การติดเชื้อไวรัส RSV โรคอันตรายที่มักระบาดหนักในเด็ก โดยเฉพาะในช่วงหน้าฝน

“การติดเชื้อไวรัสอาร์เอสวี” หรือ “โรคอาร์เอสวี” (RSV, Respiratory Syncytial Virus) จัดเป็นโรคติดเชื้อทางเดินหายใจที่พบบ่อยในเด็กเล็ก เด็กอายุสองขวบส่วนมากจะต้องเคยติดเชื้อชนิดนี้อย่างน้อย 1 ครั้ง โดยในประเทศไทยช่วงที่พบเบบี๋ป่วยบ่อยที่สุด คือ ฤดูฝน

สาเหตุของโรคเกิดจากผู้ป่วยได้รับเชื้อไวรัสอาร์เอสวี ซึ่งเป็นเชื้อไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคที่เกี่ยวข้องกับทางเดินหายใจ ไวรัสชนิดนี้มีระยะฟักตัวประมาณ 4–6 วันหลังจากได้รับเชื้อ โดยโรคนี้สามารถติดต่อผ่านสารคัดหลั่งต่างๆ ในร่างกายได้ เช่น น้ำลาย น้ำมูก เสมหะ จากการอาการไอ โดยผู้ป่วยจะรับเชื้อไวรัสจากฝอยละอองจากการไอ จาม ของผู้ติดเชื้อ

ในรายที่อาการรุนแรงมากอาจมีอาการตัวเขียว หากเกิดโรคขึ้นกับผู้ใหญ่อาการมักไม่รุนแรง คือ มีอาการประมาณโรคหวัด แต่หากเกิดกับผู้มีภาวะภูมิคุ้มกันต่ำมักก่อให้เกิดอาการรุนแรง ในที่นี้รวมถึงเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 5 ขวบด้วย โดยเฉพาะในเด็กทารกจะมีอัตราความเสี่ยงที่จะเกิดการติดเชื้อในทางเดินหายใจส่วนล่างและทำให้โรคมีความรุนแรงสูง

rain-to-take-baby-risk-of-rsv-virus-infection

อาการเริ่มต้นของโรคจะคล้ายโรคหวัด แต่หลังจากนั้น 1–2 วันอาจจะมีอาการ เช่น มีไข้ ไอรุนแรง มีเสมหะ หายใจลำบาก อาเจียน บางรายอาจมีอาการหายใจเร็ว หายใจดัง หูชั้นกลางอักเสบ หลอดลมฝอยอักเสบ ในรายที่อาการรุนแรงมากอาจมีอาการตัวเขียว

เนื่องจาก “โรคอาร์เอสวี” ติดต่อทางสารคัดหลั่งจากทางเดินหายใจ จึงควรดูแลสุขอนามัยของเบบี๋ รวมถึงตัวคุณพ่อคุณแม่หรือผู้เลี้ยงดูคลุกคลีกับเด็ก ให้สะอาดอยู่เสมอ หลีกเลี่ยงการพาเด็กเล็กไปสถานที่ชุมชน หมั่นรักษาสุขอนามัย ล้างมือบ่อยๆ รวมถึงระวังอย่าให้คนแปลกหน้าเข้ามาใกล้ หรือมากอด มาหอมแก้มลูก (คนในครอบครัวเองก็ต้องระวังเรื่องความสะอาด) จะช่วยลดการติดต่อของเชื้อโรคได้

ความที่เด็กทารกยังสื่อสารถ่ายทอดความรู้สึกของเขาเป็นภาษาพูดไม่ได้ พ่อแม่จึงต้องหมั่นสังเกตอาการของลูกรักอยู่เสมอ หากพบอาการผิดปกติ ควรรีบพาไปพบแพทย์ก่อนจะสายเกินไป

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *