เสริมสร้างพัฒนาการเบบี๋ให้แข็งแรงตามช่วงอายุ

0

วินาทีแรกที่ทารกน้อยได้ออกมาสัมผัสกับโลกภายนอกท้องแม่ สมองของเบบี๋ก็เริ่มทำงาน เรียกว่าพร้อมที่จะเรียนรู้สิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบตัวเขา จึงเป็นหน้าที่ของพ่อแม่และผู้เลี้ยงดู ในการสร้าง ส่งเสริม และกระตุ้นพัฒนาการของลูกน้อยให้มีความฉลาดรอบด้าน ซึ่งจะนำไปสู่การเติบโตอย่างเปี่ยมคุณภาพค่ะ

build-up-the-development-by-age-of-baby

ทารกวัย 1-3 เดือน

หมั่นจับเด็กนอนคว่ำ ให้ฝึกยกศีรษะขึ้น, ยื่นของเล่นให้สัมผัส ให้เอื้อมแตะ, เปลี่ยนที่แขวนโมบายล์บ้าง เพื่อส่งเสริมการใช้สายตาในการมองวัตถุของเด็ก, ยักคิ้วหลิ่วตาทำหน้าตลกๆ เล่นกับลูก, สบตา โอบกอดพูดคุยกับลูกด้วยถ้อยคำที่ไพเราะอ่อนโยน, นวดสัมผัสช่วยเปิดภาษากายคลายความเครียด

ทารกวัย 3-6 เดือน

หมั่นอุ้มลูก กอดลูก พูดคุย เล่านิทานให้ลูกฟัง, หลอกล่อให้ลูกเอื้อมมือคว้าของเล่น เช่น กรุ๋งกริ๋ง ตุ๊กตายาง ลูกบอลผิวหยาบหรือนิ่ม อาจทำจากผ้าหรือพลาสติก มีเสียง เพื่อฝึกคว้าจับหรือสัมผัส ฝึกฟังเสียงขณะบีบ เขย่า เคาะ, อุ้มลูกส่องกระจก เพื่อฝึกการมองและการสังเกตของเด็กขณะมอง, ตบก้นให้หลับไปเอง ถ้าไม่หิว, พูดคุยบอกลูกให้รู้กิจวัตรประจำวัน เช่น “ตอนนี้ถึงเวลากินนมแล้วนะจ๊ะ” ให้ลูกรู้ว่าจะต้องกินนม

ทารกวัย 6-9 เดือน

เล่นเกมทิ้งของแล้วเก็บ โดยให้ลูกทิ้งของแล้วแม่เก็บหรือแม่ทิ้งแล้วให้ลูกเก็บ, วางของเล่นให้อยู่ไกลสุดเอื้อม แล้วกระตุ้นให้ลูกเข้ามาหยิบ, ใช้ของเล่นพวกไขลานหรือที่มีเสียงดนตรี กระตุ้นให้ลูกเคลื่อนไหวด้วยตนเอง เช่น คืบคลาน เกาะเดิน เหนี่ยวตัวลุกขึ้น, เปิดหรือร้องเพลงจังหวะสนุกให้ลูกตบมือ โยกตัวเต้นตาม, การตบมือเปาะแปะ เป็นการฝึกการใช้กล้ามเนื้อมือทั้ง 2 ข้าง และฝึกฟังจังหวะในขณะตบมือ, เล่นเกมจ๊ะเอ๋ เป็นการฝึกให้ลูกรู้จักค้นหาวัสดุที่หายไป ฝึกสมาธิในการฟังจังหวะเสียง และสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างเด็กกับผู้ใหญ่, พูดคุยโต้ตอบกับลูก, เมื่อลูกนั่งได้ดี เริ่มฝึกลูกจิบน้ำและนมจากแก้ว, เล่านิทานให้ลูกฟัง

ทารกวัย 9-12 เดือน

สอนลูกส่งจูบ บ๊ายบาย จ๊ะเอ๋, ชี้บอกให้ลูกรู้จักอวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกายหน้ากระจก, หาถ้วยชามพลาสติกมารินน้ำเล่นเวลาอาบน้ำ, สอนให้เก็บของเมื่อเลิกเล่น, เปิดเพลงจังหวะช้าๆ เล่านิทาน หรืออ่านหนังสือที่ฟังสบายๆ เพื่อกล่อมลูกก่อนเข้านอน, ฝึกลูกหัดพูด และพูดคุยโต้ตอบเล่นกับลูกบ่อยๆ


ทั้งนี้ ไม่ควรให้ลูกดูทีวี เพราะทีวีไม่เคยตอบสนองเด็กกลับคืนมา เซลล์สมองที่เกี่ยวกับพัฒนาการทางภาษาก็จะไม่ได้รับการกระตุ้น

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *