“แกว่งแขนลดพุง” ทำไม่ถูกวิธี อาจบาดเจ็บได้

0

การแกว่งแขน” จัดเป็นการออกกำลังกายที่ได้รับความนิยมอย่างสูงในปัจจุบัน เนื่องจากเป็นกิจกรรมที่ง่าย เหมาะกับทุกเพศทุกวัย ล่าสุดมีการแชร์ข้อมูลผ่านทางสังคมออนไลน์ว่า การแกว่งแขนออกกำลังกายไม่ดีต่อกล้ามเนื้อบ่าไหล่ มีผลกระทบถึงกระดูกและเส้นเลือด

ทำให้หลายคนเกิดคำถามในใจว่าการออกกำลังกายด้วยวิธีนี้ปลอดภัยจริงหรือ?

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) ได้รณรงค์ เรื่องการแกว่งแขน ผ่านแคมเปญ “ลดพุง ลดโรค” มาตั้งปี 2556 การแกว่งแขนถือเป็นกิจกรรมทางกายอย่างง่ายที่เหมาะสมกับทุกเพศทุกวัย แต่ต้องมีการปฏิบัติอย่างถูกวิธีจึงจะได้ประโยชน์และไม่ก่อให้เกิดอันตรายหรือบาดเจ็บ จากการวิจัย พบว่า…

การแกว่งแขนสามารถเผาผลาญได้ถึง 230 แคลอรี่ต่อชั่วโมง ซึ่งใกล้เคียงกับเดิน และไม่เกิดผลเสียใด ๆ ทั้งระยะสั้นและระยะยาว

หลักการแกว่งแขนที่ถูกต้อง คือ แกว่งแขนให้ถูกวิธีต่อเนื่องสะสมอย่างน้อย 30 นาทีต่อวัน จะช่วยพัฒนาระบบไหลเวียนโลหิตของร่ายกาย ทำให้สุขภาพแข็งแรง หรือแกว่งแขนสะสมครั้งละ 10 นาที รวม 30 นาทีต่อวัน เป็นประจำทุกวันควบคู่กับการควบคุมอาหารจะช่วยลดพุง ลดโรคได้

Woman walking

การแกว่งแขนผิดวิธีที่พบบ่อยมี 3 ประเภท ตามนี้

1. แกว่งแขนแรงเกินไป

2. คว่ำหรือหงายมือ ไม่ปล่อยมือทั้งสองข้างลงตามธรรมชาติ

3. แกว่งแขนพร้อมกับย่อเข่าและมีการขย่มตัวขึ้นลงเบา ๆ ทำให้เกิดอาการบาดเจ็บของข้อเข่าได้

การบริหารร่างกายด้วยการแกว่งแขนจะไม่ก่อให้เกิดการบาดเจ็บแก่ร่างกายหากปฏิบัติอย่างถูกวิธี แต่หากปฏิบัติไม่ถูกต้องก็จะมีผลเช่นเดียวกับการออกกำลังกายทุกประเภทคือทำให้เกิดอาการบาดเจ็บได้เช่นกันทั้งนี้ การอักเสบที่หัวไหล่หรือบ่า ถือเป็นโรคฮิตที่เป็นกันมาก โดยเฉพาะผู้อายุ 40 ปีขึ้นไป เนื่องจากร่างกายมีความเสื่อมโทรมตามเวลา มีการใช้งานกล้ามเนื้อบริเวณดังกล่าวหนักเกินไป ดังนั้น ปัญหาการเจ็บไหล่จึงมักจะมาจากสาเหตุอื่น ๆ ไม่ได้เกิดจากการแกว่งแขน หรือกรณีที่มีอาการบาดเจ็บอยู่แล้วพอมาแกว่งแขนด้วยท่าทางผิด ๆ หรือทำแรง ๆ ก็ทำให้เกิดอาการบาดเจ็บ

การแกว่งแขนที่ถูกวิธีทำได้โดย ยืนตรง งอเข่าเล็กน้อยเพื่อการทรงตัว เท้าสองข้างแยกออกจากกันให้มีระยะห่างเท่ากับหัวไหล่ปล่อยมือทั้งสองข้างลงตามธรรมชาติไม่คว่ำหรือหงายมือจากนั้นแกว่งแขนเบา ๆ เหมือนลูกตุ้มนาฬิกา

เมื่อแกว่งไปข้างหน้าจะรู้สึกลำตัวเซไปข้างหน้าเล็กน้อยใช้ฝ่าเท้ารับน้ำหนักถ่ายน้ำหนักไปที่ปลายเท้าเพื่อสร้างสมดุลกับลำตัวที่เซไปข้างหน้า เมื่อแกว่งไปข้างหลังก็ถ่ายน้ำหนักมาที่ส้นเท้าเพื่อสมดุลกับน้ำหนักลำตัวที่เซไปข้างหลัง การเซไปข้างหน้าและหลังเป็นผลจากการแกว่งแขนนั่นเอง

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *