รู้จัก “ฟลูออรีน” แร่ธาตุที่หลายคนไม่รู้จัก!!

0

ทราบกันดีว่าแร่ธาตุ (Mineral) เป็นสารอนินทรีย์ที่ร่างกายจำเป็นต้องมีอยู่ในระดับที่เหมาะสมจึงจะสามารถทำงานได้ เป็นส่วนประกอบของสารหลายชนิดที่มีความสำคัญต่อการทำหน้าที่ของเซลล์และอวัยวะ โดยแต่ละชนิดนั้นทำหน้าที่แตกต่างกัน รวมถึงร่างกายต้องการในปริมาณที่ต่างกันด้วยและหนึ่งในแร่ธาตุที่เราควรทำความรู้จักก็คือ…

“ฟลูออรีน” (Fluorine)

เป็นเกลือแร่จำเป็นที่พบในเนื้อหนังเกือบทั่วร่างกายแต่จำนวนและที่พบมากกว่าที่อื่นๆ คือที่โครงกระดูกและฟันและฟลูออรีนที่พบในร่างกายจะอยู่ในลักษณะเป็นสารผสมเรียกว่า “ฟลูออไรด์” (Fluoride) ซึ่งมี 2 ชนิดคือ โซเดียมฟลูออไรด์ ที่เขาใช้เจือปนกับน้ำดื่มซึ่งต่างกันกับแคลเซียมฟลูออไรด์ที่พบตามธรรมชาติ

“ฟลูออรีน” เป็นธาตุที่มีอยู่ทั่วไปในร่างกาย มีมากที่สุดในกระดูกและฟัน โดยเฉพาะในส่วนเคลือบฟัน ส่วนฟลูออไรด์ เป็นสารประกอบของ “ฟลูออรีน”

ในชีวิตประจำวันเราสามารถได้รับฟลูออไรด์จากน้ำดื่ม อากาศที่เราหายใจ และยังพบฟลูออไรด์ได้ในอาหาร เช่น อาหารทะเล โดยเฉพาะปลาที่เรากินได้ทั้งตัว

ส่วนในพืชผักก็มีฟลูออไรด์อยู่บ้าง เช่น ผักกุยช่าย ตั้งโอ๋ มะระ ผักบุ้ง และกะหล่ำปลี เป็นต้น และพบมากที่สุดคือ ใบชา หรือใบเมี่ยง

ฟลูออรีน (1)

นอกจากนี้ยังพบในกาแฟ เนย ถั่ว เมล็ดทานตะวัน ข้าวต่างๆ ไข่แดง น้ำมันตับปลา หัวบีท หัวแครอท หัวไชเท้า ข้าวโพด กระเทียม ผักโขม มะเขือ แอปเปิ้ล กล้วย องุ่น เชอรี่ ลูกแพร์ เป็นต้น

Pouring Milk into Coffee

Roasted peanuts

Red Vine tomatoes against red and white chequered cloth

Woman holding grapes

เมื่อฟลูออไรด์เข้าสู่ร่างกายแล้วจะถูกดูดซึมเข้าไปในกระแสโลหิต แล้วกระจายไปตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย เช่น เลือด หัวใจ ของเหลวที่บริเวณไขสันหลัง กระดูก และฟัน เป็นต้นความสำคัญของฟลูออรีน คือ เป็นส่วนประกอบของสารเคลือบฟัน  ทำให้กระดูกและฟันแข็งแรง ป้องกันฟันผุรวมถึงลดความเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกพรุน

โดยจากการวิจัยพบว่า ฟลูออไรด์จะเพิ่มการจับเกาะของแคลเซียมจึงทำให้กระดูกและฟันแข็งแรงและช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุนในผู้สูงอายุรวมถึงช่วยลดการเกิดกรดในปากเนื่องจากคาร์โบไฮเดรตช่วยในการดูดซึมของเหล็ก และช่วยในการเจริญเติบโต และบำรุงระบบสืบพันธุ์

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *