How to จัดการอารมณ์ร้ายช่วยคลายเครียด

0

ว่ากันว่า “ใจป่วย” กายก็มีักจะป่วยตามไปด้วย นพ.ประเวช ตันติพิวัฒนสกุล นายแพทย์ผู้ทรงคุณวุติกรมสุขภาพจิต และผู้จัดการแผนงานสร้างเสริมสุขภาพจิต สสส. ให้ข้อมูลที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่งว่า

“ความเครียดในระยะสั้น ช่วยกระตุ้นให้เราตื่นตัว มีพลังในการจัดการปัญหาที่ผ่านเข้ามา แต่ความเครียดที่ต่อเนื่องยาวนาน และแฝงเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิต จะส่งผลเสียรุนแรงต่อสภาพร่างกายและจิตใจ กระทบต่อร่างกายทั้งทางระบบฮอร์โมน ระบบประสาทอัตโนมัติ และระบบภูมิคุ้มกัน

โดยความเครียด จะส่งผลให้กล้ามเนื้อหดเกร็งตัว หัวใจเต้นเร็วและแรง เส้นเลือดที่มาเลี้ยงหัวใจตีบเล็กลง ส่งผลต่อเนื่องให้ความดันเลือดสูงขึ้น ปริมาณน้ำเลือดเพิ่มมากขึ้น ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น จึงทำให้เลือดข้นขึ้นและแข็งตัวเร็วกว่าปกติ ไม่เพียงเท่านี้ ลำไส้ส่วนต่างๆ และระบบภูมิคุ้มกันจะทำงานได้น้อยลง ส่งผลให้ความสามารถในการต่อสู้กับเชื้อโรคและสิ่งแปลกปลอมต่างๆ ลดลงไปด้วย” – อ้างอิง “อารมณ์” ปัจจัยก่อโรคที่ไม่ควรมองข้าม

ดังนั้น เรามาหาวิธีจัดการอารมณ์ร้ายช่วยครายเครียดดีกว่า โดยคำแนะนำนี้มาจาก นพ.ธันวรุจน์ บูรณสุขสกุล จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น ไปดูเลยครับ!

how-to-จัดการอารมณ์ร้าย

1.หมั่นสังเกตอารมณ์ตัวเอง

หรือมีสตินั่นเองโดยการตั้งคำถามว่าอารมณ์นี้เกิดจากอะไร(รู้ที่มา)ทำให้ร่างกายตอบสนองอย่างไร(รู้ที่ไป)รวมทั้งดูผลกระทบที่ตามมาของอารมณ์ที่แสดงออกเป็นพฤติกรรม๐ ในเด็ก พ่อแม่หรือครูครให้เวลาซักถามพูดคุยถึงอารมณ์ที่ก่อให้เกิดปัญหาโดยการตั้งคำถามอย่างสร้างสรรค์เพื่อให้เด็กรู้จักอารมณ์ต่างๆและมองเห็นหนทางแก้ไขซึ่งเป็นผลดีกว่าการออกคำสั่ง

ในผู้ใหญ่  ควรสังเกตตัวเองด้วยใจเป็นกลางไม่อิงอัตราส่วนตัว หรือฟังเสียงสะท้อนจากคนรอบข้าง เช่น มีคนรอบข้างถึง5-5คนบอกเราว่าเราเป็นคนขี้โมโห ก็ต้องฟังแล้วนำมาทบทวน

2.ลดอารมณ์ที่มากเกินไปด้วยความผ่อนคลายร่างกาย

เช่น ใช้เทคนิคหายใจเข้าออกลึกๆหรือการเกร็ง-คลายกล้ามเนื้อสลับกัน

3.แก้ไขปัญหา

เมื่อสำรวจพบสาเหตุที่ทำให้เกิดอารมณ์ต่างๆแล้ว ต้องหาทางแก้ไข

4.ปล่อยวางอย่างมีสติ

ในกรณีที่ไม่อาจแก้ไขปัญหานั้นได้จำเป็นต้องเรียนรู้ที่จะปล่อยวางและก้าวต่อไปไม่จมอยู่กับอารมณ์นั้นๆเป็นเวลานาน

คุณหมอธันวรุจน์ ย้ำว่า การเติบโตและมีความฉลาดทางอารมณ์จำเป็นต้องหมั่นสำรวจตนเอง มีปฎิสัมพันธ์กับผู้คนรอบข้าง หากฝึกบ่อยๆก็ยิ่งช่วยให้รู้จักยืดหยุ่นลดความขัดแย้ง รวมถึงแก้ปัญหาเชิงมนุษย์สัมพันธ์ได้

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *