9 ทริคการกินเพื่อบรรเทาอาการลำไส้แปรปรวน

0

“ลำไส้แปรปรวน” นับเป็นอีกหนึ่งปัญหาสุขภาพที่มักเกิดขึ้นกับคนยุคใหม่ ซึ่งเป็นผลมาจากปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ อาทิ ความเครียด พฤติกรรมการรับประทานอาหารหรือการขับถ่าย แม้ไม่ใช่โรคที่อันตรายรุนแรง แต่ก็เป็นอุปสรรคในการใช้ชีวิตอันเนื่องมาจากปัญหาการขับถ่าย

 

ใส้

 

โรคลำไส้แปรปรวน หรือไอบีเอส คือ โรคลำไส้ที่ทำให้เกิดอาการปวดท้อง แน่นท้อง ไม่สบายท้อง มีปัญหาเกี่ยวกับระบบขับถ่าย โดยมีอาการแตกต่างกันออกไปในแต่ละบุคคล บางรายท้องผูก บางรายท้องเสีย แต่จะมีอาการปวดท้องเป็นอาการเด่นของโรค ซึ่งอาการปวดท้องมักจะดีขึ้นเมื่อได้ขับถ่าย หรืออาการปวดท้องอาจไม่ดีขึ้นแต่ก็ยังสามารถเป็นโรคนี้ได้

 

สาเหตุของโรคลำไส้แปรปรวน ยังไม่ทราบแน่ชัด แต่พบว่ามีหลายปัจจัยที่เกี่ยวข้อง อาทิ พันธุกรรม, เคยมีการติดเชื้อในลำไส้มาก่อน ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของแบคทีเรียในลำไส้และทำให้เกิดโรค, มีปัญหาในการย่อยอาหาร, ความไม่สมดุลของจุลินทรีย์ในทางเดินอาหาร, ความไวต่ออาหารหรืออาหารเป็นพิษ, ความเครียดจากภาวะทางกายหรือจิตใจ, การติดเชื้อทางเดินอาหาร, การใช้ยาบางชนิด

 

9 ทริคการกินเพื่อบรรเทาอาการลำไส้แปรปรวน

  1. ผู้ที่มีอาการท้องผูกบ่อยครั้ง ควรเพิ่มปริมาณการรับประทานอาหารที่มีเส้นใยละลายน้ำ (Soluble Fibre) เช่น กล้วย แอปเปิ้ล แครอท ฝรั่ง มันหวาน บล็อคโคลี่ ซึ่งช่วยทำให้อุจจาระนุ่มขึ้นและส่งเสริมการเคลื่อนไหวของลำไส้
  2. ผู้ที่มีอาการท้องเสียบ่อยครั้ง ควรลดปริมาณการรับประทานอาหารที่มีเส้นใยไม่ละลายน้ำ (Insoluble Fibre) เช่น ซีเรียล ถั่ว ธัญพืช เป็นต้น เพื่อป้องกันการขับถ่ายบ่อยครั้งจนเกินไป
  3. ผู้ที่มีอาการท้องอืดบ่อยครั้ง ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตที่ย่อยยาก เช่น ถั่ว นมจากสัตว์ ผลิตภัณฑ์จากข้าวสาลี อาหารแปรรูป เพื่อลดการเกิดแก๊สในท้อง และท้องอืด ทั้งนี้ ข้าวโอ๊ตช่วยบรรเทาอาการท้องอืดได้
  4. รับประทานอาหารให้ตรงเวลา ไม่ควรอดอาหาร ไม่ควรรีบรับประทาน ควรรับประทานทีละน้อยแต่รับประทานให้บ่อยขึ้น ไม่ควรรับประทานอาหารเกินความต้องการของร่างกายจนอิ่มมาก
  5. ดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 8 แก้ว หรือดื่มน้ำให้เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย
  6. หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีส่วนประกอบของคาเฟอีน เช่น ชา กาแฟ รวมถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และน้ำอัดลม
  7. หลีกเลี่ยงอาหารที่มีส่วนประกอบของไขมัน เช่น เนื้อสัตว์ทุกชนิด หนังเป็ด หนังไก่ นม ครีม เนย น้ำมันพืช เนื่องจากเป็น ตัวกระตุ้นที่รุนแรงของการบีบตัวของลำไส้ ซึ่งมักนำไปสู่อาการปวดท้อง เกร็ง และท้องเสีย
  8. หลีกเลี่ยงการรับประทานสารให้ความหวานซอร์บิทอล มักพบในหมากฝรั่ง เครื่องดื่มบางชนิด เป็นต้น
  9. รับประทาน คอมบีฟ เออาร์ (Combif AR) ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารโปรไบโอติกส์ (Probiotics) ช่วยปรับสมดุลและเสริมสร้างสุขภาพของลำไส้ โดยเพิ่มปริมาณจุลินทรีย์ชนิดดีให้มีปริมาณที่มากพอช่วยลดปัญหาผายลมบ่อย เรอบ่อย ขับถ่ายผิดปกติ รวมไปถึงอาการปวดท้อง แน่นท้องต่าง ๆ ซึ่งนำไปสู่โรคลำไส้แปรปรวนนั่นเอง

 

ลำไส้แปรปรวนเป็นโรคเรื้อรังที่สร้างความรำคาญใจและบั่นทอนสุขภาพ ดังนั้น ควรหมั่นดูแลตัวเองทั้งด้านร่างกายและจิตใจ ที่สำคัญหากพบอาหารที่เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดอาการ ควรหลีกเลี่ยง

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *