ไม่ใช่คนแก่ แนวโน้ม “พาร์กินสัน” ในวัยทำงานก็สูงเหมือนกัน!

0

หลายคนคงเคยได้ยินชื่อ “โรคพาร์กินสัน” ผ่านหูกันมาบ้าง แต่ก็คงผ่านแล้วผ่านเลยเพราะเข้าใจว่าเป็นโรคของผู้สูงอายุขอบอกว่าคุณคิดผิดแม้ว่าตลอดหลายปีที่ผ่านมาพบว่าผู้ป่วยโรคพาร์กินสันส่วนใหญ่มีอายุเกิน 60 ปีขึ้นไป

แต่ในปัจจุบันพบว่าผู้ป่วยร้อยละ 8 ถูกตรวจพบว่าเป็นโรคพาร์กินสันก่อนอายุ 40 ปีอีกด้วย ดังนั้นกลุ่มวัยทำงานจึงถือเป็นอีกกลุ่มที่มีความเสี่ยง

“พาร์กินสัน”

เป็นโรคทางสมองชนิดหนึ่ง สาเหตุเกิดจากสารโดปามีนซึ่งเป็นเคมีในสมองลดลง โดยมีสาเหตุมาจากจอประสาทที่ทำหน้าที่ในการสร้างโดปามีนมีการเสื่อมสลาย ซึ่งปัจจุบันยังไม่ทราบอย่างแน่ชัดว่าอะไรเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดภาวะดังกล่าว แต่ในบางกรณีก็สามารถทราบได้ เช่น กินยาบางชนิด ยารักษาอาการทางจิต ยาแก้เวียนศีรษะ ยาแก้อาเจียน หรือสารพิษบางชนิด อย่างแมงกานิส เป็นต้น

อาการเตือนของโรคพาร์กินสัน

  • อาการนอนละเมอ
  • ดมกลิ่นได้น้อยลง
  • ท้องผูกเรื้อรัง
  • ซึมเศร้า

ในช่วงที่เป็นโรคใหม่ๆ อาการเด่นชัดที่สุดจะเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหว ซึ่งรวมถึงการสั่น สภาพแข็งเกร็ง เคลื่อนไหวช้า เดินลำบากและติดขัด เวลาเดินแล้วแขนไม่แกว่งไปมา ต่อมาอาจเกิดปัญหาด้านการคิดและพฤติกรรมได้ โดยภาวะสมองเสื่อมเกิดได้ทั่วไปในระยะท้ายของโรค ขณะที่ภาวะซึมเศร้าเป็นอาการจิตเวชที่พบบ่อยที่สุด นอกจากนี้ยังมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วยได้แก่การมีปัญหารับความรู้สึก การหลับและอารมณ์

Businesswoman Working At Notebook

เนื่องจากอาการของโรคพาร์กินสันที่เกิดขึ้นคือการเคลื่อนไหวได้ช้าลง ฉะนั้นคนไข้ก็ผู้ป่วยจะไม่สามารถดำรงชีวิตได้เหมือนคนปรกติ โดยเดินได้ไม่คล่อง เขียนหนังสือไม่ได้ พูดไม่ชัด มือก็สั่น รวมถึงมีอาการข้างเคียงของโรคและยาอีกด้วยซึ่งเป็นการบั่นทอนคุณภาพชีวิตและสร้างความทุกข์ทรมานให้แก่ผู้ป่วยมาก 

โดยตัวของโรคพาร์กินสันเอง อาจจะไม่ทำให้เกิดการเสียชีวิตแบบปัจจุบันทันด่วน แต่หากโรคนี้ทำให้เกิดการเคลื่อนไหวที่ช้าลง แล้วนำไปสู่การหกล้ม การเกิดอุบัติเหตุ หรือเป็นโรคแทรกซ้อนอื่นๆ ก็อาจเป็นสาเหตุให้ผู้ป่วยถึงแก่ชีวิตได้ฉะนั้นควรรีบสำรวจตัวเอง หากสงสัยว่าตัวเองป่วยเป็นโรคพาร์กินสันให้รีบไปพบแพทย์

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *