“ใจสั่น” แบบไหนที่บ่งว่าอันตราย?

0

“ใจสั่น” (Palpitation) เป็นความรู้สึกอย่างหนึ่งที่หลายคนเคยเจอ บางรายหมายถึงปกติ แต่บางรายอาจถือว่าไม่ปกติก็ได้ โดยทั่วไปเรามักรู้สึกถึง การเต้นของหัวใจ ในภาวะที่หัวใจบีบตัวแรง เต้นเร็ว ในขณะออกกำลังกาย แต่ในภาวะที่ไม่มีอะไรมากระตุ้นเลย ในบางคนอาจจะเกิด อาการใจสั่น จนทำให้เกิดข้อกังวลสงสัยว่า หัวใจฉันเกิดความผิดปกติหรือไม่

 

“ใจสั่น” แบบไหนที่บ่งว่าอันตราย

 

ภาวะใจสั่น เป็นความรู้สึกที่หัวใจเต้นเร็ว อาจรู้สึกใจสั่น เต้นไม่สม่ำเสมอ หรือเต้นอย่างแรงและรวดเร็ว มีความรู้สึกในหน้าอกหรือที่ลำคอ บางครั้งเป็นแล้วหายไปเอง บางครั้งอาจเกิดจากอาการของโรคหัวใจซึ่งจำเป็นต้องรับการรักษา เช่น ภาวะหัวใจสั่นพริ้ว (Atrial fibrillation) เป็นต้น

 

“ใจสั่น” มักเกิดจากสาเหตุดังนี้

  1. ความเครียดและความวิตกกังวล
  2. ออกกำลังมากเกินไป
  3. ดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน สูบบุหรี่ ดื่มเหล้า มากเกินควร
  4. ระดับฮอร์โมนเปลี่ยนแปลงระหว่างรอบเดือน ตั้งครรภ์ หญิงวัยทอง
  5. ได้รับสารกระตุ้นที่เป็นส่วนประกอบในยาแก้หวัด
  6. มีภาวะหัวใจสั่นพริ้ว (Atrial fibrillation)

 

ภาวะหัวใจสั่นอาจเป็นสัญญาณบ่งบอกอันตรายถึงแก่ชีวิตถ้าเกิดร่วมกับอาการเหล่านี้ ได้แก่ มึนงง, หายใจลำบาก, แน่นหน้าอกหรือเจ็บหน้าอก, เป็นลมหมดสติ ผู้ป่วยควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับการตรวจพิเศษและรักษาต่อไป

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *