“หูดข้าวสุก” โรคไม่ร้ายแต่กลายเป็นเสียลุค!

0

โรคหูดข้าวสุก (Molluscumcontagiosum)

เป็นโรคที่ยังคงพบได้อยู่สม่ำเสมอ เนื่องจากโรคสามารถติดต่อโดยการสัมผัสทางผิวหนัง อัตราการเกิดโรคพบมากขึ้นในประเทศเขตร้อน โดยโรคหูดข้าวสุกสามารถพบได้ทุกวัยพบมากในเด็กที่ช่วงอายุ 1-10 ปี

ส่วนในผู้ใหญ่หูดข้าวสุกที่บริเวณอวัยวะเพศถือเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ชนิดหนึ่ง!

Itchy and dry skin

โรคหูดข้าวสุกเกิดจากเชื้อไวรัส ชื่อเดียวกันกับชื่อโรค คือ Molluscumcontagiosum virus เรียกย่อว่า ไวรัส MCVเชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดหูดข้าวสุกนี้ สามารถเข้าไปในผิวหนังที่แตกแห้ง ลอก หรือเป็นแผลและกลายเป็นหูดข้าวสุกได้ แต่ไม่มีผลกระทบต่ออวัยวะภายในโรคหูดข้าวสุก สามารถติดต่อได้โดย

  1. การสัมผัสผิวหนังที่รอยโรค
  2. ติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (โรคหูดข้าวสุกที่อวัยวะเพศ)
  3. ติดเชื้อไวรัสจากสิ่งของที่ใช้ร่วมกันกับผู้ที่มีรอยโรคหูดข้าวสุก เช่น ผ้าขนหนู แก้วน้ำ
  4. การติดโรคจากการเกา ทำให้เชื้อโรคกระจายจากที่หนึ่งไปสู่อีกที่หนึ่งในคนๆเดียวกัน เช่น รอยโรคแรกเป็นที่มือ แต่เมื่อเอานิ้วมือที่สัมผัสโรคไปขยี้ตา ก็ทำให้เปลือกตาติดหูดข้าวสุกไปด้วย

การติดเชื้อนี้จะเกิดขึ้นเฉพาะบริเวณผิวหนังชั้นนอก ไม่มีการเข้าสู่ร่างกายทางกระแสเลือดหรือระบบประสาท แน่นอนว่า แม้โรคนี้ไม่หนักหนาแต่ก็ส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ ดังนั้นจึงไม่มีอาการครั่นเนื้อ ครั่นตัว อ่อนเพลีย หรือปวดเมื่อยนำมาก่อน มีอาการเฉพาะที่เป็นหลักโดยเริ่มจากมีจุดสีแดง ต่อมาเป็นตุ่มเล็กๆ สีแดง และอาจมีตุ่มคล้ายมีสารสีขาวอยู่ภายในหูดข้าวสุกมีขนาดประมาณ 2-5 มิลลิเมตร ตรงกลางตุ่มมักมีจุดบุ๋มลงไปคล้ายสะดือ เวลาบีบตุ่มออกจะได้สารสีขาวข้างในคล้ายข้าวสุกจึงเรียกว่า “หูดข้าวสุก”

ปัจจัยเสี่ยงหลักที่จะเกิดโรคหูดข้าวสุกคือ การสัมผัสกับรอยโรค หรือสิ่งของที่มีเชื้อไวรัส MCV อยู่

ดังนั้น การลดปัจจัยเสี่ยงของการติดเชื้อโรคหูดข้าวสุกทำได้โดย…

  • การหลีกเลี่ยงการสัมผัสรอยโรค
  • ล้างมือเป็นประจำ
  • ทำความสะอาดสิ่งของเครื่องใช้ที่ใช้ร่วมกันและไม่ใช้สิ่งของส่วน ตัวร่วมกับผู้อื่น เช่น ผ้าเช็ดตัว เสื้อผ้า แก้วน้ำ รองเท้า และไม่ควรว่ายน้ำขณะที่มีบาดแผล

รู้จักกันแล้วก็อย่าลืมระวังกันด้วยนะคะ 🙂

Leave a Reply to Sloteasy168 Cancel reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *