“โรคไตเรื้อรัง” โรคอันตรายที่คนไทยต้องระวัง!!

0

เป็นปัญหาสุขภาพระดับประเทศที่ต้องเร่งแก้ไขสำหรับ “โรคไตเรื้อรัง” โดยข้อมูลจากกระทรวงสา
ธารณสุขพบว่า…

ปัจจุบันคนไทยป่วยโรคไตเรื้อรังประมาณ 8 ล้านคน หรือประมาณร้อยละ 17 ของประชากรไทย ที่น่าห่วงคือโรคไตเรื้อรังจะนำมาซึ่งโรคหัวใจ โดยพบว่าคนเป็นโรคไตเรื้อรังอาจเสียชีวิตจากโรคหัวใจและหลอดเลือดมากถึง 30 เท่า!!

“โรคไตเรื้อรัง” (Chronic kidney disease)

kidney icon and symbol

ภาวะที่มีการทำลายไตนานกว่า 3 เดือน โดยเฉพาะเมื่อการทำงานของไตลดน้อยลงต่ำกว่าร้อยละ 60ส่งผลให้ไตทำงานผิดปกติ ซึ่งทราบได้จากการตรวจเลือด ตรวจปัสสาวะ เอกซเรย์ หรือตรวจสภาพของชิ้นเนื้อไต (กรณีที่ไตเสื่อมลงอย่างรวดเร็วหรือหยุดทำงานทันทีเรียกว่า “ไตวายเฉียบพลัน” ซึ่งไตอาจจะฟื้นกลับมาเป็นปกติได้ถ้าได้รับการรักษาที่เหมาะสม

ส่วน “โรคไตเรื้อรัง” นั้นไตจะเสื่อมลงอย่างช้าๆต่อเนื่อง)โดยเมื่อไตถูกทำลายมีผลทำให้ความสามารถของไตในการทำงานลดลง เช่น การรักษาสมดุลของเหลวในร่างกาย การควบคุมน้ำและแร่ธาตุต่างๆ ในเลือด การกำจัดของเสียออกจากเลือด การกำจัดยาและพิษออกจากร่างกาย การหลั่งฮอร์โมนเข้าสู่กระแสเลือด เป็นต้น

สาเหตุของโรคไตเรื้อรังที่พบบ่อย ได้แก่ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคอ้วน กรวยไตอักเสบเรื้อรัง นิ่วระบบทางเดินปัสสาวะ โรคถุงน้ำในไต โรคหัวใจ โรคเก๊าท์ และการได้รับสารหรือยาที่ทำลายไต เช่น ยาแก้ปวด บางชนิด และยาปฏิชีวนะ บางชนิด เป็นต้น

ในระยะแรกผู้ป่วยไตเรื้อรังมักไม่มีอาการ แต่เมื่อโรคดำเนินไปมากขึ้น อาจมีอาการต่างๆเช่น ปริมาณปัสสาวะลดลง ความดันโลหิตสูงขึ้น ซีด เหนื่อยง่ายขึ้น เบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน นอนไม่หลับ คันตามตัว มีอาการบวมที่หน้า ขา และลำตัว อ่อนแรง กล้ามเนื้อเป็นตะคริวตอนกลางคืนความรู้สึกตัวลดลง หรือมีอาการชัก เป็นต้นฉะนั้นการตรวจพบและได้รับการรักษาแต่เนิ่นๆ อาจทำให้โรคไตเรื้อรังคงตัวและหายได้

การดูแลตนเองเมื่อป่วยโรคไตเรื้อรัง

ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด รักษาและควบคุมโรคที่เป็นสาเหตุ และพบแพทย์ตรงตามนัดเสมอ หรือรีบไปพบแพทย์เมื่อมีอาการผิดปกติ ส่วนการป้องกันทำได้โดยการหลีกเลี่ยงสาเหตุและปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรค เช่น ควบคุมอาหารเพื่อป้องกันโรคอ้วน ออกกำลังกายสม่ำเสมอ รวมถึงตรวจสุขภาพประจำปีตรวจการทำงานของไต เลือด และปัสสาวะ

 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *