“โรคเพลียแดด”ของแถมที่มาพร้อมอากาศร้อนจัด!!

0

เข้าขั้นวิกฤตกันเลยทีเดียว สำหรับสภาพอากาศ ณ บัดนาว ของประเทศไทยในช่วงฤดูร้อนนี้ เพราะร้อนแบบสาหัสสากรรจ์ โดยกรมอุตุนิยมวิทยาประเมินว่ากลางเดือนมีนาคมถึงกลางเดือนเมษายน อุณหภูมิสูงสุดอาจสูงถึง 43-44 องศาเซลเซียส  แสงแดดจะแรง อากาศร้อนจัด และมีความชื้นสัมพัทธ์สูง ทำให้เหงื่อไม่สามารถระเหยพาความร้อนออกจากร่างกายได้

“โรคเพลียแดด”หรือ “ภาวะเพลียแดด” (Heat Exhaustion)

เป็นอีกหนึ่งปัญหาสุขภาพที่มาพร้อมอากาศร้อนจัด โดยภาวะเพลียแดด คือ การเจ็บป่วยอันเนื่องมาจากร่างกายไม่สามารถปรับตัวสู้กับสภาพอากาศที่ร้อนจัดได้ เกิดขึ้นเมื่อร่างกายไม่สามารถควบคุมอุณหภูมิได้ เนื่องจากความร้อนที่มากเกินไป และเกิดการสูญเสียเหงื่อและสารน้ำไปอย่างมาก

โรคเพลียแดด

โดยปกติแล้วร่างกายคนเรามีอุณหภูมิ ประมาณ 36 – 37 °c ในภาวะเพลียแดด ร่างกายจะมีอุณหภูมิสูงขึ้น แต่ยังไม่ถึง 40 °c อาจทำให้เกิดอาการเพลียแดดโดยจะมาพร้อมกับอาการปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน อ่อนเพลีย ไม่มีแรง แต่ยังรู้สติดีอยู่

แต่ถ้าร่างกายมีอุณหภูมิสูงเกิน 40 องศาเซลเซียส ร่วมกับเริ่มมีอาการทางสมอง เช่น ซึม สับสน ชักเกร็ง หรือหมดสติ เรียกว่า “โรคลมแดด” ซึ่งถือเป็นภาวะการเจ็บป่วยจากความร้อนที่รุนแรงที่สุดสำหรับอาการที่บ่งบอก “ภาวะเพลียแดด” ได้แก่ ปวดศีรษะ มึนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน อ่อนเพลีย ไม่มีแรง เป็นตะคริว และมีไข้ (แต่ต่ำกว่า 40 องศาเซลเซียส) ต้องรีบแก้ไขก่อนที่จะเกิดโรคลมแดดซึ่งมีอันตรายถึงแก่ชีวิตได้

ภาวะนี้เกิดได้กับทุกคนที่ถูกแดดจัด ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงได้แก่ เด็กเล็ก ผู้สูงอายุ คนที่มีโรคหัวใจ โรคปอด โรคทางสมอง ผู้ที่ติดเหล้า ผู้ที่ได้รับยาบางชนิด เช่น ยาขับปัสสาวะ ยาระบาย ยากันชัก ยาทางจิตเวชบางชนิด ยาลดน้ำมูก ยาแก้หวัด ยาลดความดัน ยาโรคหัวใจบางชนิด ยาไทรอยด์ ฯลฯ

อีกกลุ่มหนึ่งที่ความเสี่ยงคือ นักกีฬาที่เล่นกีฬาในสภาพอากาศที่ร้อนจัด เพราะมีความร้อนจากภายในร่างกายที่เกิดผลิตจากกล้ามเนื้อระหว่างการออกกำลังกายด้วยรวมถึงคนงาน เกษตรกร ที่ต้องทำงานกลางแจ้งเป็นเวลานาน

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *