อาการใดบ้างที่บอกว่าคุณกำลังเสี่ยง… โรคแผลปริที่ขอบทวารหนัก

0

“โรคแผลปริที่ขอบทวารหนัก”

คือแผลที่ขอบหรือปากทวารหนัก มีลักษณะเป็นรอยปริเกิดขึ้นบริเวณขอบทวารหนัก โดยทั่วไปจะเห็นแผลเป็นรอยปริอยู่ตรงกลางทางด้านหลัง หรือตรงกลางทางด้านหน้าของทวาหนัก มีอาการเจ็บรุนแรงเมื่อเทียบกับขนาดแผล

ว่าแต่อาการใดบ้างที่ต้องสงสัยว่าคุณป่วยด้วยโรคนี้??

%e0%b9%81%e0%b8%9c%e0%b8%a5%e0%b8%9b%e0%b8%a3%e0%b8%b4%e0%b8%97%e0%b8%b5%e0%b9%88%e0%b8%82%e0%b8%ad%e0%b8%9a%e0%b8%97%e0%b8%a7%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%ab%e0%b8%99%e0%b8%b1%e0%b8%81

สาเหตุหลักของ “โรคแผลปริที่ขอบทวารหนัก” พบว่า…

เกิดจากพฤติกรรมการเบ่งถ่ายที่รุนแรงจากอาการท้องผูกหรือท้องเสีย ตลอดจนท้องเสียเรื้อรัง ส่งผลให้กล้ามเนื้อหูรูดปากทวารหนักทำงานเพิ่มขึ้น, การถ่ายอุจจาระก้อนที่ใหญ่และแข็งจนเกิดการบาดทวารหนักและกลายเป็นแผล, การสอดใส่วัสดุแปลกปลอมทางทวารหนัก, การร่วมเพศทางทวารหนัก รวมไปถึงเป็นอาการของโรคบางอย่าง เช่น ซิฟิลิส หนองใน วัณโรค

“โรคแผลปริที่ขอบทวารหนัก” มีอาการต้องสงสัยแบบนี้ค่ะ

  1. เจ็บหรือแสบทวารหนักขณะเบ่งถ่าย หรือมีอาการเจ็บหรือปวดทวารหนักยาวนานหลายชั่วโมงหลังถ่าย
  2. บนก้อนอุจจาระอาจมีเลือดสดเคลือบอยู่เล็กน้อย แต่จะไม่ปนเป็นเนื้อเดียวกับอุจจาระ อาจมองไม่เห็นเลือดบนอุจจาระ แต่เมื่อใช้ทิชชูเช็ดทำความสะอาดรูทวารจะเห็นเลือดสดติดอยู่กับทิชชู
  3. มีอาการแสบร้อน คัน รอบๆ ขอบทวารหนัก และมักมีอาการท้องผูก อุจจาระแข็ง ถ่ายยากร่วมด้วย

หากมีอาการดังที่กล่าวมาข้างต้น ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัย หากพบว่าป่วยด้วยโรคแผลปริที่ขอบทวารหนัก แพทย์จะทำการรักษา โดยวิธีการรักษา จะแบ่งตามระยะและความรุนแรงของอาการ ดังนี้

  1. การรักษาด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตัวเอง เช่น เพิ่มการกินอาหารที่มีกากใย, ดื่มน้ำให้มากๆ เพื่อกระตุ้นให้ระบบขับถ่ายคล่องตัวขึ้น, แช่น้ำอุ่นหลังขับถ่าย เพื่อช่วยให้กล้ามเนื้อหูรูดที่บีบตัวมากเกินไปคลายตัวลง หรือหากมีอาการท้องผูกหนักมาก อาจต้องให้ยาระบายชนิดอ่อนเพิ่ม
  2. การรักษาด้วยยา ในรายที่รักษาด้วยตัวเองแล้วอาการยังไม่หายภายใน 2-4 สัปดาห์ แพทย์อาจใช้ยาช่วยในการรักษา เช่น ยาทาและยาเหน็บที่ใช้ในโรคริดสีดวงทวาร, ยาทาที่ช่วยลดการหดตัวของกล้ามเนื้อหูรูด
  3. การรักษาด้วยการผ่าตัด โดยทั่วไปจะมีอยู่ 2 ทางเลือก คือ การผ่าตัดถ่างขยายทวารหนัก และการตัดกล้ามเนื้อหูรูด โดยวิธีแรกทำเพื่อขยายหรือยืดกล้ามเนื้อหูรูดของขอบทวารหนัก ให้กล้ามเนื้อส่วนนั้นหยุดขมิบหรือหยุดเกร็ง ส่วนวิธีที่สองจะช่วยให้กล้ามเนื้อเกิดการขยายตัวกว่าปกติ ทำให้ไม่เจ็บเวลาขับถ่าย

โดยปกติแล้วถ้าเป็นในระยะเริ่มต้น และมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม แผลจะหายได้เองภายใน 1-3 สัปดาห์ แต่หากไม่ดูแลตัวเอง ปล่อยให้เกิดอาการท้องผูก ท้องเสียบ่อยๆ ก็มีโอกาสสูงที่จะกลับมาเป็นอีกค่ะ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *