ระวัง! “นอนกรน” เสี่ยงหยุดหายใจขณะหลับ

0

“นอนกรน” เป็นความปกติจากการนอนไม่หลับที่พบบ่อย นอกจากจะสร้างความรำคาญให้คนรอบข้างจากเสียงดังที่รบกวนแล้ว ยังส่งผลกระทบต่อสุขภาพของผู้มีอาการนอนกรนอีกด้วย กล่าวคือ อาการนอนกรนมีความสัมพันธ์โดยตรงต่อภาวะหยุดหายใจขณะหลับซึ่งนำไปสู่ความเสี่ยงต่อโรคอันตรายหลายๆ โรค!!

นพ.วชิระ เพ็งจันทร์ อธิบดีกรมอนามัย ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการนอนกรนว่า…

อาการนอนกรนที่เกิดในขณะหลับ เป็นเสียงที่เกิดขึ้นจากการสั่นสะเทือนของลมหายใจ ผ่านช่องทางเดินหายใจส่วนบนที่แคบลงและหายใจออก และอาจจะนำไปสู่การเกิดการหยุดหายใจในขณะหลับได้

ผู้ที่มีอาการภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น จะนอนกรนเสียงดัง หยุดหายใจ หายใจสะดุด หรือ เฮือกสำลัก ทำให้สมองพักผ่อนได้ไม่เพียงพอ เมื่อตื่นนอนจะทำให้ไม่สดชื่น เหมือนนอนไม่อิ่ม มึนศีรษะ ระหว่างวันรู้สึกง่วงนอน อาจมีเผลอหลับ เพลีย หงุดหงิดง่าย ความจำไม่ดี

%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%a7%e0%b8%b1%e0%b8%87-%e0%b8%99%e0%b8%ad%e0%b8%99%e0%b8%81%e0%b8%a3%e0%b8%99

ภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น มีสาเหตุจากภาวะอ้วน หรือความหย่อนของกล้ามเนื้อในช่องคอหรือโครงสร้างกระดูกใบหน้าที่เล็กผิดปกติ นอกจากนี้ การสูบบุหรี่ก็ทำให้เมือกในช่องคอเหนียวข้นมากขึ้น ส่วนการดื่มสุราทำให้กล้ามเนื้อช่องคอหย่อนขึ้น รวมถึงผู้มีโรคประจำตัว ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง ความผิดปกติทางอารมณ์ โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง ภาวะหัวใจวาย ล้วงเสี่ยงหยุดหายใจขณะหลับได้เช่นกัน

การรักษาต้องรับการตรวจวินิจฉัยจากแพทย์ เพื่อประเมินความรุนแรงและปัจจัยที่มีผลต่อการกรน ส่วนผู้ที่นอนกรนมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้นนั้น อาจต้องใช้เครื่องอัดอากาศแรงดันบวก เพื่อลดปัญหาการอุดตันของทางเดินหายใจ ซึ่ง หรืออาจใช้การฝึกท่านอนให้นอนตะแคง เพราะการนอนหงายมีผลทำให้นอนกรน นอกจากนี้ อาจใช้ทันตอุปกรณ์เพื่อกันลิ้นตก หรือปรับตำแหน่งของกรามในขณะที่นอนหลับ ก็จะลดปัญหาการนอนกรนได้

อาการนอนกรนเพียงอย่างเดียวไม่ได้ถือว่าเป็นโรค แต่เมื่อใดที่การนอนกรนทำให้เกิดปัญหาต่อคนรอบข้าง หรือส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของบุคคลนั้นแล้ว ควรรีบมาพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยและรักษา

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *