“ภาวะข้อไหล่ติด” หากไม่รักษาอาจพิการถาวร!

0

“ภาวะข้อไหล่ติด”

ถือเป็นอีกหนึ่งอาการเจ็บป่วยที่กลุ่มวัยทำงานหรือผู้ป่วยบางโรค ต้องใส่ใจเป็นพิเศษ โดยข้อมูลจาก นพ.วีรวุฒิ อิ่มสำราญ ผู้อำนวยการสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ ระบุว่า ภาวะข้อไหล่ติด หรือการเคลื่อนไหวข้อไหล่ลดลง พบประมาณร้อยละ 5 ของประชากรที่มีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป

ข้อไหล่” เป็นข้อที่เคลื่อนไหวได้มากที่สุดของร่างกาย ช่วยให้เราเอื้อมหยิบของที่สูงๆเหนือศีรษะ สามารถหมุนจนเราเอื้อมมือไปด้านหลังได้ ข้อไหล่ประกอบด้วยกระดูก 3 ชิ้น ได้แก่ กระดูกต้นแขน กระดูกไหปลาร้า และกระดูกสะบัก กล้ามเนื้อที่มาหุ้มอยู่โดยรอบข้อไหล่มีหน้าที่ช่วยการเคลื่อนไหวของข้อไหล่ ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กล้ามเนื้อกลุ่มหุ้มรอบหัวไหล่ กล้ามเนื้อยึดตึงข้อไหล่ และกล้ามเนื้อกลุ่มเคลื่อนไหวหลัก

“ภาวะข้อไหล่ติด” หรือ “การเคลื่อนไหวข้อไหล่ลดลง”

เป็นอาการที่ผู้ป่วยไม่สามารถเคลื่อนไหวข้อไหล่ได้เนื่องจากอาการตึงจนไม่สามารถยก กาง หรือหมุนข้อหัวไหล่ อาการข้อไหล่ติดมักค่อยๆ เริ่มปรากฏ จากการลดการเคลื่อนไหวของข้อไหล่จนกระทั่งเคลื่อนไหวได้น้อยมาก

%e0%b8%a0%e0%b8%b2%e0%b8%a7%e0%b8%b0%e0%b8%82%e0%b9%89%e0%b8%ad%e0%b9%84%e0%b8%ab%e0%b8%a5%e0%b9%88%e0%b8%95%e0%b8%b4%e0%b8%94

จากข้อมูลของสถาบันมะเร็งแห่งชาติ พบว่า…

ภาวะข้อไหล่ติดจะเพิ่มสูงขึ้นถึงร้อยละ 37 หลังผู้ป่วยผ่าตัดมะเร็งเต้านมในสัปดาห์แรก เนื่องจากอาการปวดบริเวณแผล การดึงรั้งของแผลทำให้ผู้ป่วย ไม่ยอมเคลื่อนไหว หรือบริหารข้อไหล่ส่งผลให้เกิดภาวะข้อไหล่ติดในภายหลัง กระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น การหวีผมใส่เสื้อผ้า หรือการเอื้อมหยิบสิ่งของในที่สูง เป็นต้น

นอกจากนี้กลุ่มเสี่ยงต่อภาวะข้อไหล่ติด ได้แก่ กลุ่มผู้ป่วยผ่าตัดมะเร็งศีรษะ และลำคอ กลุ่มผู้ป่วยผ่าตัดข้อไหล่ กลุ่มผู้ป่วยภาวะข้อไหล่ติด และกลุ่มผู้สูงอายุ โดยเกิดกับผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย และพบว่าผู้ที่เป็นเบาหวาน ต่อมไทรอยด์เป็นพิษ โรคหัวใจ มีโอกาสเกิดภาวะข้อไหล่ติดได้มากกว่าคนทั่วไป โดย ส่วนใหญ่กว่าครึ่งหนึ่งมักมีอาการปรากฏทั้งสองข้าง

ทั้งนี้ หากไม่ได้รับการรักษาภาวะข้อไหล่ติดอย่างถูกวิธี อาจนำไปสู่ความพิการอย่างถาวร ส่งผลกระทบต่อจิตใจผู้ป่วย รวมถึงค่าใช้จ่ายและเวลาที่สูญเสียไปกับการรักษาอีกด้วยนะคะ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *