“ตาบอดกลางคืน” ความผิดปกติที่ต้องระวัง!

0

ตาบอดกลางคืน (Night blindness)

อาการที่มองเห็นไม่ชัดในที่แสงสลัวหรือในเวลากลางคืน การปรับสายตาให้มองเห็นภาพให้เห็นชัดจะทำได้ช้ากว่าคนปกติ พบได้ในโรคของจอตาหลาย ตาบอดกลางคืนไม่ได้หมายถึงตาบอดอย่างสิ้นเชิง เนื่องจากจะมองเห็นในเวลากลางวันได้อย่างเป็นปกติ

ในคนปกติภายในจอตาจะมีเซลล์รับรู้การเห็น (Photoreceptor cells) 2 ชนิด คือ Rod (เซลล์รูปแท่ง) และ Cone (เซลล์รูปโคน)โดย Rod จะกระจายอยู่บริเวณขอบๆ ของจอตาเป็นส่วนใหญ่ ทำหน้าที่ในการมองเห็นในที่แสงสลัว หากมีความผิดปกติของจอตาบริเวณขอบๆ โดยมีการทำลายหรือสูญเสียหน้าที่ หรือมีการตายของ Rod จะทำให้ผู้นั้นตามัวลงเวลากลางคืนหรือยามที่มีแสงสลัว เรียกว่า “ตาบอดกลางคืน”

ตาบอดกลางคืน (1)

“ตาบอดกลางคืน” พบได้มากในเพศหญิง และสามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ ฉะนั้นหากเรามีพ่อแม่พี่น้องหรือญาติที่เคยเป็นโรคนี้ เราก็มีโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นโรคนี้ได้เช่นกัน

แต่อย่างไรก็ตามผู้ป่วยบางรายที่เป็นโรคนี้ มีสาเหตุมาจากพฤติกรรมการใช้สายตาในทางที่ผิด ทำให้จอประสาทตาเสื่อมลง ส่วนอีกหนึ่งสาเหตุที่สำคัญของอาการตาบอดกลางคืน ก็คือการขาดวิตามินเอ โดยวิตามินเอนั้นเป็นตัวสร้างส่วนของรงควัตถุสีม่วง ชื่อว่า โรด็อบซิน (Rodopsin) ซึ่งมีความไวต่อแสงในตา หากมีวิตามินเอ ไม่เพียงพอแล้วก็จะมีการสร้างโรด็อบซินน้อยลง และทำให้ตาตอบสนองต่อที่ที่มีแสงสว่างน้อย หรือแสงจ้าได้ไม่ดี นอกจากนี้โรคทางกายที่เกี่ยวกับตับก็จะทำให้การดูดซึมวิตามินเอไม่ดี ทำให้ร่างกายขาดวิตามินเอได้ ทั้งๆ ที่บริโภคอาหารที่มีวิตามินเอเพียงพอ

“ตาบอดกลางคืน” ที่เกิดจากบางสาเหตุสามารถป้องกันได้ เช่น การขาดวิตามินเอ ป้องกันได้โดยการกินอาหารมีประโยชน์ 5 หมู่ให้ครบถ้วนทุกมื้ออาหารในปริมาณที่เหมาะสมและมีความหลากหลาย โดยเฉพาะอาหารที่มีวิตามินเอสูง เช่น ผักบุ้ง ใบตำลึง ฟักทอง บรอกโคลี มะละกอสุก มะม่วงสุก แคนตาลูป นม ไข่ ตับ เป็นต้น

Morning glory or Kang Kong

Yubari Melon in Japan

Halved egg on wood

แต่หากเกิดจากบางสาเหตุ เช่น จากกรรมพันธุ์ เราไม่สามารถป้องกันอาการตาบอดกลางคืนได้ แต่การพบจักษุแพทย์แต่เนิ่นๆ ก็อาจพบมีวิธีรักษาที่ช่วยชะลอการเสื่อมของจอตาให้ช้าลงได้

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *