การกินสำคัญ แต่การเลือกกินอาหารสำคัญกว่า

คงมีคนจำนวนไม่น้อยที่ทราบและรู้จักdha ซึ่งเป็นกรดไขมันจำเป็นในกลุ่มโอเมก้า 3 ที่มีความสำคัญต่อพัฒนาการของสมองและสายตา ตั้งแต่ทารกในครรภ์ไปจนถึงวัยสูงอายุ เพราะการทำงานต่างๆ ของร่างกาย ล้วนเกิดจากสมอง สมองจึงเป็นอวัยวะที่สำคัญที่สุดของร่างกาย ที่จะเป็นตัวบ่งชี้ถึงคุณภาพและความฉลาดของแต่ละคน แต่จะมีกี่คนที่ทราบว่า ร่างกายของคนเราไม่สามารถสร้าง DHA ขึ้นมาเองได้
ดังนั้น เราจึงต้องเลือกรับประทานอาหารที่มี DHA เป็นส่วนประกอบและต้องได้รับอย่างเพียงพอ แต่ปัจจุบันกลับพบว่าอาหารที่คนส่วนใหญ่รับประทานนั้นมีปริมาณ DHA น้อยลง จนทำให้เกิดปัญหาของสมองและสายตาในวัยต่างๆ เพื่อให้ทุกคนได้รับ DHA อย่างเพียงพอเรามาดูกันว่า DHA มีมากในอาหารประเภทใดและเราควรได้รับในปริมาณมากน้อยเท่าใดถึงจะเกิดประโยชน์และหลีกเลี่ยงโรคที่เกิดขึ้นจากการขาด DHA
1. สารDHA มีมากในปลาทะเลน้ำลึก เช่น ปลาทูน่า ปลาแซลมอน ปลาโอลาย ปลาทู
2. สารDHA ในปลาน้ำจืดที่มีไขมันสูง เช่น ปลาช่อน ปลาสวาย
3. สารDHA ในปลาที่มีไขมันปานกลาง เช่น ปลาดุก ปลาอินทรีย์ ปลาสลิด ปลาจะละเม็ด ปลาสำลี ปลาตะเพียน
4. สาร DHA น้อยกว่าปลาทะเล ได้แก่ ไข่
เด็กอายุ 1-12 ปี ควรรับประทานไม่เกิน 20 มก.ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม คุณแม่ตั้งครรภ์ เริ่มตั้งแต่อายุครรภ์ 25-35 สัปดาห์ คุณแม่ให้นมบุตร ควรรับประทาน 1,000-1,500 มก. ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อสมองเสื่อมและภาวะซึมเศร้า ผู้สูงอายุ ควรรับประทาน 1,000-3,000 มก. บำรุงสายตาควรรับประทาน 500-1,000 มก.
อย่างไรก็ตาม คนทุกวัยมีความต้องการ DHA เพราะ DHA มีความสำคัญในการทำงานของสมองและสายตา โดยเฉพาะในช่วงตั้งครรภ์ DHA จะช่วยเพิ่มน้ำหนักตัวของทารกและลดความเสี่ยงของการคลอดก่อนกำหนด และเมื่อถึงระยะที่สมองเจริญเติบโตสูงสุดในช่วงชีวิต คือ 3 เดือนก่อนและหลังคลอด ทารกจะมีความต้องการ DHA ในปริมาณสูง เพื่อนำไปใช้ในการสร้างและพัฒนาสมอง ระบบประสาท และสายตา จนถึงอายุ 3 ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่ทุกคนควรใส่ใจและเลือกอาหารที่มี DHA เป็นส่วนประกอบ เพื่อลูกน้อยจะได้รับสารอาหารที่สำคัญและจำเป็นเพื่อเตรียมความพร้อมในการเรียนรู้สิ่งต่างๆในอนาคต
1. ปัญหาของทารกและเด็กที่ได้รับ DHA ไม่เพียงพอ
- การมองเห็นของทารกลดลง และอาจก่อให้เกิดโรคตาบอดกลางคืนได้
- ระดับ ไอคิว ลดต่ำลง
- เด็กมีปัญหาเป็นโรคสมาธิสั้น และขาดการยับยั้งชั่งใจ
- มีปัญหาการเรียนรู้ช้า ทั้งการเขียนและการอ่าน
2. ปัญหาของคนวัยทำงานที่มีระดับของ DHA ในสมองลดต่ำลง
- มีอาการซึมเศร้า
- เครียด และก้าวร้าว
- มีอาการหงุดหงิด ไม่สบายใจ
3. ปัญหาของผู้สูงอายุที่มีระดับของ DHA ในสมองลดต่ำลง
- เป็นโรคอัลไซเมอร์ หรือโรคสมองเสื่อม
- ความสามารถของสติปัญญาลดลงในวัยสูงอายุ
- จอประสาทตาฝ่อตัวอักเสบ
จากความสำคัญดังกล่าว ทำให้เราทุกคนควรหันมาใส่ใจในการเลือกรับประทานอาหารต่างๆ ที่มีคุณประโยชน์ต่อร่างกายให้มากขึ้น ไม่เพียงแต่ตัวเราเอง เราควรใส่ใจกับคนในครอบครัวเพื่อให้ห่างไกลโรค เพราะโรคต่างๆ ที่เกิดขึ้นนั้นส่วนใหญ่เกิดจากการใช้ชีวิตและการรับประทานอาหารของเราแทบทั้งสิ้น Mead Johnson ni ขอเป็นทางเลือกหนึ่งที่คุณจะมอบสิ่งดีให้กับคนที่คุณรัก
0
July 14, 2019