ลูกร้องไห้ไม่มีสาเหตุ เรื่องที่พ่อแม่ต้องทำความเข้าใจ


ลูกร้องไห้ไม่มีสาเหตุ เรื่องที่พ่อแม่ต้องทำความเข้าใจ

เมื่อได้ยินเสียงลูกน้อยวัยทารกเริ่มร้องไห้เสียงดัง แน่นอนว่าสิ่งแรกที่คุณพ่อคุณแม่ทุกคนจะทำคือ รีบเข้าปลอบโยนเจ้าตัวเล็กให้สงบลง จากนั้นแล้วจึงค่อยหาสาเหตุที่ทำให้เจ้าหนูร้องไห้ ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่ก็มักจะเกิดขึ้นจากความหิว รู้สึกไม่สบายตัวจากอาการเจ็บป่วย หรือไม่สบายตัวจากสภาพแวดล้อม แต่ถ้าลูกร้องไห้ไม่มีสาเหตุโดยที่ร่างกายไม่มีความผิดปกติหรืออาการเจ็บป่วยให้คุณพ่อคุณแม่สันนิษฐานไว้ก่อนเลยว่าลูกรักอาจมี อาการโคลิค หรือภาวะที่ ทารกร้องไห้ รุนแรงกว่าการร้องไห้ปกติทั่วไป โดยจะเกิดขึ้นประมาณวันละ 3 ชั่วโมงต่อเนื่องกันเกือบทุกวัน จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่คุณพ่อคุณแม่หลายคนจะทั้งรู้สึกเหนื่อยล้าและเครียดไปพร้อม ๆ กัน เพราะส่วนใหญ่แล้วกว่าอาการ ลูกร้องไม่หยุด จะลดน้อยลงก็อาจต้องใช้เวลานานถึง 3 เดือน แต่เด็กบางคนก็อาจใช้เวลานานกว่านั้น

อย่างไรก็ตามถึง อาการโคลิค จะค่อย ๆ ทุเลาลงเมื่อลูกโตขึ้น แต่หากปล่อยให้ เด็กร้องไห้ อย่างรุนแรงเป็นเวลานานจะมีผลต่อพัฒนาการทางด้านสมองโดยตรง เนื่องจากการร้องไห้เป็นตัวกระตุ้นชั้นดีให้สมองหลั่งฮอร์โมนคอร์ติโซลหรือฮอร์โมนความเครียด ถึงแม้ว่าความจริงแล้วฮอร์โมนชนิดนี้เป็นฮอร์โมนสำคัญมากต่อระบบการทำงานของร่างกาย ไม่ว่าจะเป็น เพิ่มระดับน้ำตาลในเลือด การสูญฉีดเลือดไปหล่อเลี้ยง และกระตุ้นการตื่นตัวของร่างกายและสมอง แต่ถ้ามีกระตุ้นมากจนเกินไปจะส่งผลเสียต่อร่างกาย โดยเฉพาะในเด็กทารกเพราะหากมีการสะสมฮอร์โมนคอร์ติโซลปริมาณมากเกินไป จะทำให้เซลล์สมองถูกทำลาย รวมทั้งยังลดประสิทธิภาพการสร้างเซลล์สมองด้วย ซึ่งจะส่งผลเสียต่อการเจริญเติบโตทางด้านร่างกาย พัฒนาการทางด้านสมอง การเรียนรู้ การจดจำ อารมณ์ นิสัยใจคอ และการเข้าสังคมในอนาคต

สำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่อยากให้ลูกมีพัฒนาการทางด้านต่าง ๆ เป็นไปตามเกณฑ์ แนะนำว่าถ้า ลูกร้องไม่หยุด คุณพ่อคุณแม่ควรเข้าไปปลอบโยนลูกน้อยในทันที อย่าปล่อยให้ลูกร้องจนเหนื่อยและหยุดเองโดยเด็ดขาด เพราะนอกจากส่งผลเสียในระยะยาวแล้ว อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ขึ้นได้ อย่างเช่น ร้องจนหมดแรง อาเจียน ตัวซีด ตัวเขียว ท้องผูก อุจจาระเป็นเลือด มีอาการชัก มีไข้สูงเกินกว่า 38 องศาเซลเซียส ซึ่งหากมีภาวะเหล่านี้ในระหว่างที่ เด็กร้องไห้ ให้รีบพาไปพบแพทย์ทันทีเพื่อทำการรักษาอย่างเร่งด่วน แต่ถ้ามีแค่อาการร้องไห้เพียงอย่างเดียวในเบื้องต้นให้คุณพ่อคุณแม่ใช้ผ้าห่อเพิ่มความอบอุ่นให้กับลูกและอุ้มลูกในท่าคว่ำเข้าหาตัวชิดอกแล้วโยกตัวเล็กน้อยเหมือนนอนอยู่ในเปลหรือลุกเดินไปยังจุดที่เงียบ ๆ ที่ไม่มีสิ่งเร้ารบกวน ความอบอุ่นจากอกคุณพ่อคุณแม่และความเพลิดเพลินจะทำให้เจ้าหนูน้อยสงบลงได้ นอกจากนั้นควรหมั่นให้ลูกเรอหลังดื่มนมและนวดในท่าต่าง ๆ เช่น ท่าวนเป็นก้นหอย ท่าเท้าแตะปลายจมูก และท่างอยืดขา จะช่วยลดการสะสมของแก๊สในกระเพาะอาหารและกระตุ้นการขับถ่ายของลูกรักได้อีกทางหนึ่งด้วย


ปรับปรุงล่าสุด January 10, 2020
0
January 10, 2020