Category Archives: วัยเบบี๋

เรื่องใหญ่! เบบี๋รับวัคซีนไม่ครบตามกำหนด เสี่ยงถึงชีวิต

“วัคซีน” ถูกฉีดเข้าร่างกายมนุษย์เพื่อเป็นตัวกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันต้านทานโรค เมื่อมีเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย ร่างกายจะสามารถต่อต้านและไม่เจ็บป่วยจากเชื้อโรคนั้น โดยวัคซีนป้องกันโรคคอตีบเป็นวัคซีนสำคัญที่ทารกจำเป็นต้องได้รับ หากไม่ได้รับหรือรับไม่ครบตามกำหนด อาจทำให้เบบี๋เจ็บป่วยจนถึงขั้นเสียชีวิตได้

6 ผลไม้ที่เหมาะเป็นอาหารเสริมให้เบบี๋วัย 6 เดือน+

“น้ำนม” คืออาหารหลักของเบบี๋ตั้งแต่ทารกคลอดออกมากระทั่งอายุ 6 เดือน เรียกว่าลำพังน้ำนมแม่เพียงอย่างเดียวก็ให้สารอาหารที่เพียงพอต่อความต้องการของเบบี๋ แต่หลังจากนั้นทารกจำเป็นต้องรับประทานอาหารชนิดอื่นเพิ่มเติมด้วย หนึ่งในประเภทของอาหารที่ให้พลังงานและสารอาหารที่จำเป็นก็คือ “ผลไม้”

“ปาน” ของเบบี๋ จะหายไปเมื่อโตขึ้น หรืออยู่ติดตัวตลอดไป

เพราะลูกเป็นของขวัญที่ล้ำค่า ยิ่งเบบี๋ที่เพิ่งลืมตาดูโลกด้วยแล้ว พ่อแม่ย่อมเป็นห่วงเป็นใยแม้เพียงเรื่องเล็กน้อย “ปาน” ถือเป็นอาการที่พบบ่อยในทารก และมักสร้างความวิตกกังวลให้พ่อแม่มือใหม่อย่างมาก เพราะเกรงว่าจะดูไม่สวยงามและทำให้ลูกไม่มั่นใจเมื่อโตขึ้น อีกทั้งยังกลัวว่าจะเป็นอันตรายต่อลูกน้อยได้

อาบน้ำ-สระผม ให้เบบี๋ พ่อแม่มือใหม่ก็ทำได้!

แม้ว่าคุณแม่มือใหม่ส่วนมากจะได้เรียนรู้วิธีการอาบน้ำให้ลูกที่โรงพยาบาลจากพยาบาลหรือเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องแล้ว แต่เมื่อกลับบ้านและต้องลงมือทำด้วยตัวเองเพียงลำพัง ก็กลายเป็นเรื่องชวนหวั่นใจไม่น้อย อย่ากังวลไปไกลค่ะ เรามาทบทวนความรู้ให้จำขึ้นใจกันดีกว่า ว่าการอาบน้ำสระผมให้เบบี๋ไม่ใช่เรื่องยาก!

“เซบเดิร์ม” โรคผิวหนังที่พบบ่อยในทารกแรกคลอด

“ผื่นแพ้ต่อมไขมัน” หรือ “ผื่นผิวหนังอักเสบเซบเดิร์ม” หรือ “เซบเดิร์ม” (Seborrheic Dermatitis) เป็นโรคที่มีการอักเสบของผิวหนัง ในบริเวณที่มีปริมาณและการทำงานของต่อมไขมันมาก เช่น บริเวณหนังศีรษะ หน้า ลำตัว หรือมีต่อมไขมันโต สำหรับเด็กทารกแรกคลอด สามารถพบโรคนี้ในช่วง 3 เดือนแรกหลังคลอด

เทคนิคการตัดเล็บเบบี๋ฉบับคุณแม่มือโปร

“เล็บ” เป็นอวัยวะที่ช่วยปกคุลมร่างกายบริเวณปลายนิ้วและมือนิ้วเท้า สามารถเจริญเติบโตงอกออกมาได้เรื่อย ๆ ปกติแล้วเล็บของเด็กทารกจะงอกออกมาตั้งแต่อยู่ในท้อง ฉะนั้น เมื่อเบบี๋ออกมาลืมตาดูโลกแล้ว หากเล็บเจ้าตัวเล็กยาว คุณแม่ควรรีบตัดเล็บให้เพื่อป้องกันไม่ให้เล็บข่วนใบหน้าของทารกจนเกิดแผลค่ะ

“พราเดอร์-วิลลี” โรคที่ทำให้เบบี๋กล้ามเนื้ออ่อนแรง

“โรคพราเดอร์-วิลลี” เป็นโรคหายากที่พบมากในบ้านเรา โดยโรคหายากมีทั้งหมดกว่า 7,000 โรค แม้แต่ละโรคอัตราการเกิดต่อโรคจะน้อย แต่เมื่อรวมผู้ป่วยโรคหายากทั้งหมดแล้วถือว่ามีจำนวนมาก

เจาะลึกเรื่อง “นม” อาหารหลักของเบบี๋

อาหารหลักของทารกแรกเกิดคือ “นม” โดยเฉพาะ “นมแม่” ที่ไม่มีอาหารชนิดไหนสามารถทดแทนและเทียบเคียงได้ ประกอบด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์และจำเป็นต่อทารกมากมาย ทั้งยังย่อยง่าย ไม่ทำให้ท้องอืด ปวดท้อง และอาเจียน ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันสำหรับลูกน้อย ช่วยสร้างสายสัมพันธ์ที่ดีระหว่างแม่-ลูก

ภาวะลำไส้ขาดเลือดในเด็ก รุนแรงแค่ไหน พ่อแม่ต้องรู้

“ลำไส้ขาดเลือด” คือ ภาวะการขาดเลือดมาเลี้ยงลำไส้ ทำให้เกิดการอักเสบของเนื้อเยื้อของลำไส้ ส่งผลให้เกิดอาการเนื้อเยื่อเน่าตาย พบมากในทารก แม้ยังไม่ทราบสาเหตุของโรคที่ชัดเจน แต่พ่อแม่ก็ควรทำความรู้จักโรคนี้ และอาการแสดงของโรค เมื่อเกิดภาวะดังกล่าวขึ้นกับลูก จะได้พาไปพบแพทย์เพื่อรักษาทันท่วงที

“ภาวะพร่องไทรอยด์ฮอร์โมนแต่กำเนิด” ลูกคุณเข้าข่ายมั้ย?

เป็นโรคทางระบบต่อมไร้ท่อที่พบได้บ่อยในเด็ก เป็นสาเหตุของภาวะปัญญาอ่อนที่สามารถป้องกันได้ มักจะยังไม่แสดงอาการเมื่อแรกเกิด แต่จะชัดเจนเมื่อทารกอายุมากขึ้น ว่าแล้วมาทำความรู้จักและสังเกตอาการของโรคนี้เพื่อรักษาแต่เนิ่น ๆ กันค่ะ